Page 29 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 29
28 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
ทั้งนี้เพราะขนบของสังคมไม่ได้เป็นกฎเกณฑ์เพียงข้อเดียว หากเป็นชุดกฎเกณฑ์ที่สัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องไม่รู้
จบ จนท้ายที่สุดไม่มีใครสามารถทําตามกฎเกณฑ์ที่สังคมกําหนดไว้ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ดังนั้นทุกคนจึง
ได้ชื่อว่าเป็นเควียร์เหมือนกันหมด
ความเป็นเควียร์ของชาวนาครเขษมไม่ได้เกิดจากความปรารถนาในเพศเดียวกัน หากเกิดจากความ
ปรารถนาที่จะทําตามกฎอย่างเคร่งครัด พนักงานเหล่านี้อุทิศตนเพื่องานจนไม่มีเวลาสร้างความสัมพันธ์กับ
ผู้อื่น มีชีวิตครอบครัวและให้กําเนิดบุตร ตามที่สังคมต้องการ วิชัยต้องการทําความรู้จักกับพนักงานพิมพ์ดีดที่
นั่งหันหลังพิมพ์ดีดอยู่ตลอดเวลา แต่เนื่องจากเธอไม่เคยหยุดพิมพ์ดีด วิชัยและเพื่อนร่วมงานคนอื่นจึงไม่มี
โอกาสทําความรู้จักเธอ หรือน้าปรีชาซึ่งพยายามทําตัวกลางๆ เพื่อไม่เป็นที่สังเกตได้ง่าย ความพยายามทําตัว
เป็น “ปกติ” ของน้าปรีชาทําให้เขาสูญเสียโอกาสที่จะแต่งงานมีครอบครัว “น้าปรีชารู้สึกปลอดภัยเสมอที่จะ
ได้เป็นคนตรงกลาง นั่นทําให้แกยังไม่ยอมแต่งงาน เพราะการแต่งงานจะทําให้น้าปรีชาไม่ได้นอนตรงกลาง
เตียงอีกต่อไป” (คอยนุช, 2549: 48) หรือคุณดํารงซึ่ง “งานยุ่งจนไม่มีเวลาทําอะไร” เวลาของคุณดํารงหมด
ไปกับกิจกรรมต่างๆ ที่สอดคล้องกับลีลาชีวิตของคนเมือง เพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นคนทันสมัยไม่ตกยุค “คุณดํารง
คิดว่า ถ้าตอนนั้นชีวิตคุณดํารงไม่ยุ่งจนเกินไป หรือถ้าแกพอจะหาเวลาได้บ้าง แกคงทําอะไรได้มากกว่าการ
เป็นแค่พนักงานออฟฟิศ […] แกคงได้มีเวลามองหาผู้หญิงที่จะมานั่งฟังแกพูดคนเดียว และคงมีเวลามีลูกสาว
หรือลูกชาย” (คอยนุช, 2549: 52) นอกจากสังคมเมืองต้องการให้ผู้คนมีรูปแบบชีวิตที่สอดคล้องกับ
อุดมการณ์ของสังคมที่เน้นการผลิตและการบริโภคแล้ว ผู้ที่อยู่ในสังคมยังต้องประพฤติตนตามแบบแผนรัก
ต่างเพศด้วยการแต่งงาน มีครอบครัว และมีบุตร ภายใต้โครงสร้างของสังคมเมืองที่เรียกร้องให้ผู้คนทํา
กิจกรรมต่างๆ มากมายเพื่อได้ชื่อว่าเป็นคน “ปกติ” ผู้ที่อาศัยในสังคมเมืองแห่งนี้ย่อมหนีไม่พ้นความล้มเหลว
การไม่สามารถทําตามขนบกฎเกณฑ์ตามที่สังคมกําหนดได้ทั้งหมดทําให้ตัวละครเหล่านี้ได้ชื่อว่าเป็น “เควียร์”
ไม่แบบใดก็แบบหนึ่ง
ความเป็นเควียร์ของชาวนาครเขษมมิได้เกิดจากการมุ่งมั่นทําแต่งานเพียงอย่างเดียวจนไม่มีเวลามี
ครอบครัว หากยังเกี่ยวข้องกับอายุอีกด้วย ใน นาครเขษม สังคมทุนนิยมให้ความหมายแก่ความสูงวัยว่า
หมายถึงความเสื่อมโทรมและไร้สมรรถภาพ เมื่อวิชัยอายุครบ 40 เขาพบว่าอวัยวะเพศทํางานผิดปกติ “ก่อน
จะมาหาหมอ อวัยวะเพศของวิชัยยังคงทําหน้าที่ของมันได้ดี เวลาที่วิชัยดูรูปโป๊หรือหนังโป๊ แต่เมื่อวิชัยเจอ
ยางลบก้อนนั้นและคิดเรื่องการหายตัวไปของพนักงานบริษัทที่มีอายุ 40 ปี อวัยวะเพศของวิชัยก็ไม่สามารถ
ทําหน้าที่ของมันได้อีก” (คอยนุช, 2549: 17) ความผิดปกติของอวัยวะเพศที่เกิดกับวิชัยแยกไม่ออกจากระบบ
ทุนนิยมที่เชื่อมโยงความมีสมรรถภาพของร่างกาย (able-bodiedness) กับเพศวิถีแบบรักต่างเพศ
(heterosexuality) ร่างกายที่มีสมรรถภาพ (ability) เป็นร่างกายของคนในวัยหนุ่มสาว ดังนั้นเมื่อวิชัยอายุ
40 เขากลายเป็น “คนแก่” ที่ไร้สมรรถภาพ ความเป็นชายของวิชัยจึงหมดลงไปด้วย ทฤษฎีเควียร์ชี้ให้เห็นว่า
ความเป็นหญิงและความเป็นชายไม่ได้มีมาแต่กําเนิด แต่เป็นผลของการประกอบสร้างของสังคมช่วยอธิบาย