Page 26 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 26

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   25



                     ผู้อ่านตระหนักถึงความลึกลับและความน่าสะพรึงกลัวที่แอบแฝงอยู่ในสังคมเมือง อาการหลอนที่เกิดขึ้นกับ
                     วิชัยเมื่อเขาจะมีอายุครบ 40  บ่งบอกสภาวะทางอารมณ์ของผู้คนในสังคมเมืองที่เผชิญกับความไม่มั่นคงและ

                     ไม่แน่นอนในชีวิต ที่สําคัญคือการหายตัวไปของคนอายุ 40 ขึ้นไปเป็นชะตากรรมที่พนักงานเหล่านี้ไม่มีส่วนใน
                     การกําหนดหรือมีอํานาจในการตัดสินใจด้วยตนเอง


                       มุมมองแบบเควียร์กับการวิพากษ์วิถีเมืองสมัยใหม่

                            ก่อนที่ตัวละครจะเดินทางมายังนาครเขษมเมื่ออายุครบ 40  ปี ตัวละครทุกคนยกเว้นพี่มาโนชล้วน
                     เคยทํางานเป็นพนักงานออฟฟิศมาก่อน เรื่องราวของชาวนาครเขษมเมื่อครั้งที่เคยเป็นพนักงานออฟฟิศฟังดู

                     แปลกพิลึกหรือเกินจริง เช่น บทที่ชื่อ “วิชัย พนักงานออฟฟิศที่ต่อมเหงื่อไม่ทํางาน” กล่าวถึงตัวละครวิชัยที่
                     ก่อนหน้าจะมาเป็นพนักงานออฟฟิศ ต่อมเหงื่อของเขาทํางานปกติ วิชัยกลายเป็นพนักงานออฟฟิศที่ต่อมเหงื่อ
                     ไม่ทํางาน เนื่องจากเขาทํางานในห้องปรับอากาศตลอดทั้งวัน  ในบทที่ชื่อ “ผู้หญิงลึกลับที่มีฝ้ารูปแผนที่

                     แอฟริกา” กล่าวถึงคุณนภาซึ่งเคยเป็นพนักงานพิมพ์ดีด คุณนภานั่งพิมพ์งานทั้งวันจนไม่รู้ตัวว่าใบหน้าของเธอ
                     ขึ้นฝ้า เมื่ออายุครบ 40  คุณนภาพบว่าฝ้าบนใบหน้าขยายตัวใหญ่ขึ้นจนกลายเป็นแผนที่รูปแอฟริกา ในบทที่

                     ชื่อ “น้าปรีชากับหน้า 23 ที่หายไป” กล่าวถึงอดีตพนักงานบริษัทที่ชื่อปรีชา คุณปรีชาชอบทําตัวกลางๆ ไม่
                     ต้องการทําตัวโดดเด่นจนเป็นที่จับจ้องของคนอื่นๆ คุณปรีชากลายเป็นที่สังเกตเมื่อไม่สามารถหาเอกสารหน้า

                     23  ที่ประธานบริษัทขอดู นับแต่นั้นเป็นต้นมาชีวิตของคุณปรีชาหมกมุ่นกับการตามหา “หน้า 23  ที่หายไป”
                     หรือบทที่ชื่อ “ร้านกาแฟร้านเดียวในนาครเขษม” กล่าวถึงคุณนิตยาเจ้าของร้านกาแฟซึ่งเคยเป็นพนักงาน

                     ออฟฟิศ คุณนิตยาเป็นคนทําอะไรเร็วกว่าคนอื่น เธอทําทุกอย่างที่คนอื่นทําจนหมดและหาเรื่องทําอย่างอื่นที่
                     ไม่เคยทํา เช่น การ “ลองเป็นหนี้ธนาคาร...ร่วมเพศกับคนอายุน้อยกว่า มีความสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน” หรือ

                     คุณดํารง ที่ชีวิตหมดไปวันๆ กับการแสวงหาและบริโภคสิ่งของแปลกใหม่และการทํากิจกรรมต่างๆ ที่คนใน
                     สังคมเมืองทํากัน จนทําให้คุณดํารงกลายเป็นคนที่ไม่มีเวลาว่าง


                            สังคมเมืองมีบทบาทในการสร้างบุคลิกลักษณะและพฤติกรรมให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง การทําทุกอย่าง
                     เร็วเกินไปของคุณนิตยา การที่ต่อมเหงื่อของวิชัยไม่ทํางาน การทําตัวกลางๆ ของน้าปรีชา ล้วนเป็นผลมาจาก
                     การที่ตัวละครเหล่านี้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมเมืองหลวง วิถีปฏิบัติของคนในสังคมเมืองกลายเป็นสิ่งคุ้น

                                                                1
                     ชินจนเป็นนิสัยหรือจริตของคนในสังคมเมืองที่มีร่วมกัน  แม้วิชัยจะรู้สึกว่างานที่ตนทํานั้นจําเจน่าเบื่อหน่าย



                            1  ปิแยร์ บูดิเยอ (Pierre Bourdieu) เรียกสิ่งนี้ว่า “Habitus” บูดิเยอให้คําจํากัดความแก่ “Habitus” ว่าหมายถึง
                     “a system of dispositions, that is of permanent manners of being, seeing, acting and thinking, or a system
                     of long-lasting (rather than permanent) schemes or schemata or structures of perception, conception, and

                     action” (Bourdieu, 2005: 43).
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31