Page 27 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 27
26 แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน
และลองลาออกจากงานไปอยู่บ้าน แต่วิชัยกลับพบว่าเขาคุ้นชินกับชีวิตประจําวันที่ทํางานจนไม่อยากอยู่บ้าน
และต้องกลับไปทํางานเหมือนเดิม หรือคุณอนันต์ที่ไม่ไปจากกรุงเทพฯ “ไม่ใช่เพราะคุณอนันต์รักกรุงเทพฯ
แต่เป็นเพราะคุณอนันต์ขาดกรุงเทพฯ ไม่ได้” (คอยนุช, 2549: 60) สังคมเมืองแบบทุนนิยมยังขายฝันให้กับ
คนในเมืองอีกด้วย คนเมืองอย่างเช่นคุณอนันต์จึงต้องฝันถึงชนบท คําพูดติดปากของคุณอนันต์คือ “ไม่อยาก
อยู่กรุงเทพฯ เลย อยากมีบ้านเล็กๆ ที่บ้านนอก” คุณอนันต์จะพูดประโยคนี้ทุกครั้งที่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ซื้อ
รถใหม่ ซื้อบ้านใหม่ ความต้องการมีบ้านเล็กๆ ที่บ้านนอกของคุณอนันต์เกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคุณอนันต์ยังคงทํางาน
อยู่ในเมือง การออกจากงานในเมืองหลวงจะทําให้คุณอนันต์ไม่สามารถฝันถึงการมี “บ้านเล็กๆ ที่บ้านนอก”
อีกต่อไป อาการโหยหาชนบทจึงไม่ใช่เป็นความฝันส่วนตัวของคุณอนันต์เอง หากเป็นความฝันร่วมกันของคน
เมืองที่เกิดจากการดํารงชีวิตในสังคมเมืองหลวง อาจกล่าวได้ว่าการดํารงชีวิตในสังคมเมืองแห่งนี้ไม่ต่างไปจาก
การเดินละเมอ (sleepwalk) ตัวละครตกอยู่ในความฝันที่สังคมเมืองกําหนดขึ้นเพื่อให้ระบบทุนนิยมสามารถ
ขับเคลื่อนต่อไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง การตกอยู่ในสภาวะที่ยอมจํานนต่อการกระทําหรือการตัดสินใจของผู้อื่น
ไม่สามารถแสดงเจตจํานงของตนเองได้จึงเป็นลักษณะสําคัญของวิถีชีวิตในเมือง ตัวละครไม่เพียงแต่ต้องรับฟัง
และปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้านาย พวกเขายังไม่สามารถวางแผนชีวิตตามความต้องการของตนเอง แต่กลับ
พบว่าชีวิตของตนถูกกําหนดไว้แล้วภายใต้ระบบทุนนิยม ดังนั้น เมื่ออายุครบ 40 ปี ตัวละครทุกคนต้องเดิน
ทางออกไปอยู่สถานที่อื่นคือ นาครเขษม แม้ว่าสิ่งนี้จะขัดกับความต้องการของคนเหล่านี้ก็ตาม
ตัวละครที่มีบุคลิกลักษณะและพฤติกรรมที่ผิดแปลกเหล่านี้ล้วนเป็นผลผลิตของสังคมเมือง ตัวละคร
ที่เคยเป็นพนักงานออฟฟิศเหล่านี้พยายามทําตัวให้เป็น “ปกติ” ด้วยการประพฤติปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคม
กําหนด ทฤษฎีเควียร์ช่วยให้เราหันกลับมาทบทวนนิยามที่สังคมให้แก่ “ความปกติ” และ “ความผิดเพี้ยน”
เสียใหม่ Warner (2003: 54) ชี้ให้เห็นว่าเส้นแบ่งแยกระหว่าง “ความปกติ” และ “ความผิดแปลก” เป็นสิ่งที่
ไร้ความหมาย เขากล่าวว่า “[T]o be fully normal is, strictly speaking, impossible. Everyone
deviates from the norm in some way” สิ่งที่สังคมมองว่า “ปกติ” นั้นกลับไม่ใช่เรื่อง “ธรรมชาติ” แต่
อย่างใด “ความปกติ” เกิดจากความพยายามฝึกฝนและประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นไปตามขนบกฎเกณฑ์ที่
สังคมกําหนดไว้ เพื่อได้รับการยินยอมให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้น อย่างไรก็ตาม “ความปกติ” เป็นสิ่งที่ทํา
ได้ยากลําบากเพราะสังคมไม่ต้องการให้บุคคลประพฤติตนสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ชุดใดชุดหนึ่งเท่านั้น หากแต่
เป็นชุดกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง หรือที่วอร์เนอร์เรียกว่า “combination of
normalcies” ดังนั้นแม้เราจะสามารถทําตามกฎเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่งได้ แต่เมื่อกฎเกณฑ์ต่างๆ เชื่อมโยง
กัน การทําตามกฎเกณฑ์อย่างหนึ่งทําให้เราต้องทําตามกฎเกณฑ์อย่างอื่นต่อเนื่องกันไปอีกด้วย
Even if one belongs to the statistical majority in age group, race, height, weight,
frequency of orgasm, gender of sexual partners, and annual income, then simply
by virtue of this unlikely combination of normalcies one’s profile would already