Page 28 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 28
วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา 27
depart from the norm. Then, too, the idea of normalcy is especially strange in
the realm of sex. In one sense, nothing could be more normal than sex. Like
eating, drinking, breathing, it’s everywhere. In another sense, though, sex can
never be normal. It is disruptive and aberrant in its rhythms, in its somatic states,
and in its psychic and cultural meaning. (Warner, 2003: 54)
จากคํากล่าวข้างต้น วอร์เนอร์เผยให้เห็นความย้อนแย้งและความไร้เหตุผลที่แฝงอยู่ในขนบกฎเกณฑ์ของสังคม
โดยเฉพาะกฎเกณฑ์ในเรื่องเพศ ดังนั้นในทางปฏิบัติแล้วทุกคนย่อมไม่สามารถดํารงตนอยู่ในกรอบที่สังคมวาง
ไว้อย่างไม่ผิดเพี้ยน จึงไม่มีใครได้ชื่อว่าเป็นคน “ปกติ” อย่างที่สังคมต้องการ
มุมมองของนักทฤษฏีเควียร์ที่วิพากษ์และรื้อสร้างความหมายของ “ความปกติ” เผยให้เห็นความ
ย้อนแย้งของสังคมเมืองแบบทุนนิยม สังคมเมืองต้องการให้ประชากรปฏิบัติตามกรอบกฎเกณฑ์ที่วางไว้
เหมือนกันหมด ผู้ที่ปฏิบัติตนตามบรรทัดฐานที่สังคมวางไว้จะได้ชื่อว่าเป็นคน “ปกติ” ขณะเดียวกันบุคคลที่
ประพฤติตนต่างจากบรรทัดฐานที่กําหนดมักถูกสังคมตําหนิว่าเป็นพวก “เบี่ยงเบน” “ผิดปกติ” ใน นาคร
เขษม เส้นแบ่งแยกระหว่าง “ความปกติ” กับ “ความผิดแปลก” เป็นสิ่งที่ไร้ความหมายหรือพร่าเลือน ชาว
นาครเขษมซึ่งเคยเป็นพนักงานออฟฟิศมาก่อนมีบุคลิกและพฤติกรรมที่ถือว่า “ผิดแปลก” อย่างไรก็ตาม
ความผิดแปลกของตัวละครเหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากการที่พวกเขาพยายามทําตามกฎเกณฑ์ของสังคมเมือง
แบบทุนนิยมอย่างเคร่งครัด ความพยายามทําตนให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมเมืองทําให้คุณวิชัยกลายเป็น
พนักงานที่ต่อมเหงื่อไม่ทํางาน ทําให้คุณนิตยาทําอะไรเร็วกว่าคนอื่นจนไม่มีอะไรเหลือให้ทําและกลายเป็น
คนซึมเศร้า ทําให้คุณปรีชาพยายามทําตัวกลางๆ “ไม่อยู่ริม ไม่นําหน้า ไม่อยู่ท้าย” (คอยนุช, 2549: 47) แม้
เวลานอนยังต้องนอนตรงกลาง ทําให้คุณอนันต์มีคําพูดติดปากตลอดเวลาว่า “ไม่อยากอยู่กรุงเทพฯเลย
อยากมีบ้านเล็กๆ ที่บ้านนอก” (คอยนุช, 2549: 59) หรือทําให้คุณดํารงที่พยายามมีวิถีชีวิตในรูปแบบคน
เมืองกลายมาเป็นคนที่ไม่เคยมีเวลาว่าง ความย้อนแย้งของขนบกฎเกณฑ์ของสังคมเห็นได้จากการที่ตัวละคร
เหล่านี้พยายามปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัดเพื่อได้ชื่อว่าคน “ปกติ” แต่การทํากฎเกณฑ์ของสังคมอย่าง
เคร่งครัดกลับทําให้พวกเขากลายเป็นคน “ผิดแปลก” ยิ่งพนักงานเหล่านี้พยายามทําตนให้ดูเป็น “ปกติ”
มากขึ้นเท่าไหร่ กลับทําให้คนเหล่าดู “ผิดปกติ” มากขึ้นเท่านั้น
ความเป็นเควียร์จึงเป็นผลมาจากการดํารงชีวิตภายใต้โครงสร้างหรือกรอบสังคมเมืองสมัยใหม่
ระบบทุนนิยมยึดถือความปกติ (normalcy) พยายามขจัดสิ่งที่ไม่เข้าพวก หรือ สิ่งผิดปกติ ออกจากระบบด้วย
การขีดเส้นแบ่งกั้นระหว่าง “ความปกติ” กับ “ความผิดปกติ” แต่ผู้อ่านกลับพบว่าระบบทุนนิยมที่ต้องการ
ขจัดความแปลกปลอม กลับสร้างหรือผลิตกลุ่มคนที่ได้ชื่อว่าเป็น “เควียร์” ตัวละครเหล่านี้มัวแต่ทํางานจนไม่
มีเวลามีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่มีโอกาสแต่งงานและมีครอบครัว ซึ่งสอดคล้องกับข้อสังเกตของวอร์เนอร์ที่มอง
ว่า หากความปกติหมายถึงการปฏิบัติตนตามแบบแผนหรือขนบที่สังคมวางไว้ จะไม่มีใครได้ชื่อว่า “ปกติ”