Page 24 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 24

วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา   23



                       สังคมเมืองแบบทุนนิยมกับการปรากฏขึ้นของนาครเขษม

                            นาครเขษม (2549) เป็นนวนิยายขนาดสั้นของ คอยนุช ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของตัวละครหลากหลาย

                     ที่เคยทํางานเป็นพนักงานออฟฟิศในเมืองหลวง เมื่อตัวละครเหล่านี้อายุครบ 40  ปี พวกเขาพบว่าตนเอง
                     หายไปจากสังคมเมืองและปรากฏตัวอยู่ในสถานที่ใหม่ที่เรียกว่านาครเขษม คอยนุชเน้นย้ํากับผู้อ่านว่าสถานที่

                     แห่งนี้มีอยู่จริงและดํารงอยู่ในสังคมเมืองมาช้านาน “นาครเขษมในเรื่องนี้ไม่ใช่นาครเขษมที่ไม่มีอยู่จริง และ
                     ไม่ใช่นาครเขษมของผู้เขียน เป็นนาครเขษมที่ไม่ได้มหัศจรรย์ เป็นนาครเขษมที่อยู่ในกรุงเทพฯ อยู่ตรงที่ที่มัน

                     เคยอยู่ของมันมาตั้งนานแล้วนั่นแหละ” (คอยนุช, 2549: 7) “นาครเขษม” เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะ
                     สังคมเมืองสมัยใหม่และแยกไม่ออกจากแนวคิดเวลาในระบบทุนนิยม สังคมเมืองแบบทุนนิยมยึดถือเวลาตาม

                     เข็มนาฬิกาที่ดําเนินต่อเนื่องเป็นเส้นตรง กิจกรรมต่างๆ ถูกจัดแบ่งตามกรอบเวลาอย่างชัดเจน เช่น การแยก
                     เวลางานออกจากเวลาว่าง วัยทํางานออกจากวัยเกษียณ การเกษียณอายุจึงเป็นปรากฏการณ์ของสังคม
                     สมัยใหม่ แม้ว่าวัยเกษียณอายุจะแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม แต่ปัจจุบันพบว่าอายุของคนวัยเกษียณลดลง

                     เรื่อยๆ แบบแผนชีวิตที่เปลี่ยนไปเป็นผลมาจากสังคมปัจจุบันให้ความสําคัญแก่อนาคต ผู้คนดําเนินชีวิตอย่าง
                     เร่งรีบไปข้างหน้า การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่วัยสูงอายุจึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  ในนาครเขษม “อายุ 40  ปีเป็นอายุ

                     ของคนแก่” สังคมมองคนวัย 40 ว่าเป็นเหมือน “ของเก่า” ที่หมดสภาพ ใช้การไม่ได้อีกต่อไป ดังนั้นเมื่ออายุ
                     ครบ 40 ปี ตัวละครเหล่านี้ต้องออกจากงานและเดินทางมายังนาครเขษมแม้จะไม่สมัครใจก็ตาม


                            นาครเขษมเป็นสถานที่สําหรับคนอายุ 40  ขึ้นไปและเป็นสถานที่ที่
                     อยู่นอกเหนือการรับรู้ของคนอายุน้อยกว่า 40  ปี “ฉะนั้นเราจะไม่พูดและไม่

                     เห็นนาครเขษมในส่วนที่มีคนอายุน้อยกว่า 40  ปี” (คอยนุช, 2549: 8) การ
                     ตระหนักถึง “พื้นที่อื่น” ของคนวัย 40 ปีขึ้นไปสะท้อนให้เห็นจิตสํานึกร่วมกัน

                     ของคนกลุ่มนี้ที่รู้สึกว่าตนไม่มีพื้นที่ในสังคมปัจจุบันที่ตนอาศัยอยู่ ความรู้สึก
                     แปลกแยกเป็นผลมาจากวิถีชีวิตของคนวัยนี้ที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยมและ
                     อุดมการณ์ของสังคมเมืองที่มุ่งเน้นความเจริญก้าวหน้า การเติบโตอย่าง

                     รวดเร็วและไม่หยุดยั้ง สังคมเมืองสมัยใหม่จึงเป็นพื้นที่ของคนวัยหนุ่มสาวที่มี
                     กําลังวังชากระฉับกระเฉง มีความสามารถในการแข่งขัน มีกําลังผลิตและ

                     กําลังซื้อ ขณะที่ผู้เขียนพูดถึงนาครเขษมว่า “สภาพอากาศที่นาครเขษมเป็นอากาศที่ผ่านการหายใจเข้าออก
                     ช้าๆ จากคนที่เคยหายใจเข้าออกเร็วๆ มาก่อน” (คอยนุช, 2549: 8) ชาวนาครเขษมซึ่งประกอบด้วยชาย-

                     หญิง อายุ 40  ปีขึ้นไปมีบุคลิกคล้ายคลึงกันคือ “ผู้ชายชอบใส่เสื้อผ้ายับ เดินหลังค่อม มีพุง หัวล้าน ผมหงอก
                     ส่วนผู้หญิงชอบพันผ้าพันคอทั้งที่ไม่ใช่หน้าหนาว หน้าท้องยื่นทั้งที่กินน้อย ไม่เป็นสิวแล้ว แต่เป็นฝ้าและกระ

                     แทน....แต่ไม่ว่าผู้ชายหรือผู้หญิงก็ล้วนสายตายาว หูตึง อาหารไม่ย่อย ชอบเรอ ผายลมเสียงดัง ทําอะไรช้า”
                     (คอยนุช, 2549: 8)  คนวัย 40  ขึ้นไปนอกจากไม่มีกําลังในการผลิตแล้ว ยังไม่มีกําลังซื้อหรือบริโภคอีกด้วย
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29