Page 25 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 25

24       แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน



                ผู้คนที่แวะเวียนมาที่นาครเขษมแห่งนี้จึง “ยังไม่สามารถขายอะไรหรือหาเงินจากชาวนาครเขษมได้เลย” (คอยนุช,
                2549: 9) วิถีชีวิตของชาวนาครเขษมจึงถูกมองว่าล้าหลังหรือถดถอยในโลกสมัยสมัยที่มุ่งเน้นการเจริญเติบโต

                อย่างรวดเร็ว เนื่องจากคนวัย 40 วิ่งไม่ทันกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมเมือง คนกลุ่มนี้จึงไม่อาจเป็น
                ส่วนหนึ่งของสังคมเมืองแห่งนี้อีกต่อไป

                       นาครเขษมที่ปรากฏในเรื่องนี้ยังเป็นอุปลักษณ์ (metaphor) ที่สื่อถึงความหวาดวิตกของผู้คนที่

                ดํารงชีวิตอยู่ท่ามกลางความเสี่ยง ความไม่แน่นอน ของสังคมเมืองที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว Pile (2005: 1)
                กล่าวไว้ใน Real Cities  ว่าเมืองมีความหมายมากกว่าสิ่งปลูกสร้างที่เรามองเห็นหรือจับต้องได้ ไพร์อธิบาย

                แนวคิดของโรเบิร์ต พาร์ก (Robert  Park) นักสังคมวิทยาที่มองความหมายของเมืองว่าเป็น “state  of
                mind”


                               The city does not just express itself in the buildings, the streets, the
                       traffic that seem to define it, but in the ways in which people live, work, trade;
                       their customs, habits, pleasures, crimes, angers.  From this perspective, Park’s

                       statement that the city is a state of mind must be taken seriously.

                เมืองประกอบด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ดังนั้นเมื่อพูดถึงเมืองจึงไม่ได้หมายถึงอาคารและสิ่งปลูก
                สร้างเท่านั้น หากยังรวมถึงประสบการณ์และวิถีชีวิตของผู้ที่อาศัยอยู่ในสถานที่แห่งนั้นอีกด้วย เมืองแต่ละ

                เมืองจึงมีลักษณะเฉพาะตัวแตกต่างกัน “นาครเขษม”  เป็นชื่อที่ผู้เขียนใช้เรียกโลกใบอื่นที่เกิดจากจิตสํานึก
                และประสบการณ์ร่วมของคนวัย 40 ขึ้นไปที่เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมเมือง แบบแผน

                และค่านิยมที่เคยยึดถือปฏิบัติกลายเป็นสิ่งล้าสมัยและถูกแทนที่ด้วยสิ่งใหม่ ผู้คนและสิ่งของมีอายุการใช้งาน
                สั้น การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้คนวัย 40 รู้สึกไร้ที่ทางราวกับว่าตนอยู่ในโลกอื่น ไม่มีพื้นที่ในสังคม

                เมืองแห่งนี้อีกต่อไป แม้ว่าพวกเขายังคงดําเนินชีวิตอยู่ในเมืองแห่งนี้ก็ตาม

                       นอกจากนี้ นาครเขษมเป็นอุปลักษณ์ที่สะท้อนความหวาดวิตกของผู้คนในสังคมเมืองที่จะกลายเป็น

                “ของเก่า” ใช้การไม่ได้และถูกขับออกจากสังคมอย่างไม่รู้ตัว ความลึกลับและน่าสะพรึงกลัวที่แฝงอยู่ในสังคม
                เมืองนําเสนอผ่านเรื่องราวที่เล่าขานเกี่ยวกับ “พนักงานเก่าแก่หลายคนที่มีอายุครบ 40 ปีที่หายตัวไป ไม่มีใคร
                รู้ว่าพนักงานเก่าแก่เหล่านั้นหายไปไหน” (คอยนุช, 2549: 16) วิชัยเป็นพนักงานบริษัทที่กําลังมีอายุครบ 40

                ปี แม้เขาพยายามปกปิดอายุที่แท้จริงของตนไม่ให้ผู้อื่นทราบ แต่เรื่องเล่าเกี่ยวพนักงานที่หายตัวไปยังคงหลอก
                หลอนเขาอยู่ตลอดเวลา การค้นพบยางลบปริศนาที่มีชื่อ “นภา” อยู่ด้านหนึ่งและอีกด้านหนึ่งมีชื่อ “นาคร

                เขษม” ทําให้วิชัยเชื่อว่ามีพนักงานหายตัวไปจริงๆ ยางลบเป็นสัญลักษณ์ของตัวตนที่ถูกลบเลือนหรือหลงลืม
                ไปจากสังคมเมืองเมื่อตัวละครเหล่านี้อายุครบ 40 แม้เมืองสมัยใหม่จะให้ความสําคัญกับความเป็นระเบียบ

                แบบแผน ความเรียบร้อย ความโปร่งใส แต่เรื่องเล่าขานเกี่ยวกับคนหายและการค้นพบยางลบปริศนา ทําให้
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30