Page 39 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 39
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
และคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
การจ้างงาน เพื่อที่จะประกันสิทธิอันเดียวกันบนพื้นฐานของความเสมอภาคของบุรุษและสตรีโดย
เฉพาะอย่างยิ่ง
(ก) สิทธิที่จะทำงานในฐานะเป็นสิทธิอันจะพึงแบ่งแยกมิได้ของมนุษย์ทั้งปวง
(ข) สิทธิในโอกาสที่จะได้รับการจ้างงานชนิดเดียวกัน รวมทั้งการใช้หลักเกณฑ์ในการ
คัดเลือกเดียวกันในเรื่องของการจ้างงาน
(ค) สิทธิในการเลือกอาชีพและการทำงานได้อย่างเสรี สิทธิในการได้เลื่อนตำแหน่ง
ความปลอดภัยในการทำงานและผลประโยชน์ รวมทั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริการทั้งปวง และสิทธิที่จะ
ได้รับการฝึก และการฝึกซ้ำด้านอาชีพ รวมทั้งภาวการณ์เป็นผู้ฝึกงาน การฝึกและการฝึกซ้ำด้านอาชีพ
ในระดับสูง
(ง) สิทธิที่จะได้รับผลตอบแทนเท่าเทียมกัน รวมทั้งความเสมอภาคกันเกี่ยวกับงานที่มี
คุณค่าเท่าเทียมกัน รวมทั้งความเสมอภาคของการปฏิบัติในการวัดผลคุณภาพงาน
(จ) สิทธิที่จะได้รับประกันสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของการเกษียณอายุ
การตกงาน การป่วย การทุพพลภาพ และวัยชรา รวมทั้งการหมดสมรรถนะที่จะทำงาน รวมถึงสิทธิ
ในการได้รับเงินค่าจ้างขณะพักงาน
(ฉ) สิทธิที่จะได้คุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในสภาพการทำงานต่างๆ รวมทั้ง
การให้ความปลอดภัยเกี่ยวกับการทำหน้าที่ด้านการมีบุตรสืบพันธุ์
๒. เพื่อที่จะป้องกันการเลือกปฏิบัติต่อสตรีด้วยเหตุผลอันเนื่องมาจากการแต่งงาน
หรือความเป็นเพศมารดา และเพื่อประกันอันแท้จริงของสตรีในการที่จะทำงาน รัฐภาคีจะใช้มาตรการ
ที่เหมาะสม
(ก) เพื่อห้ามภายใต้การบังคับใช้ของข้อห้ามต่างๆ ไม่ให้มีการปลดเพราะเหตุแห่งการ
ตั้งครรภ์ หรือเพราะการคลอดบุตรและการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของสถานภาพในการแต่งงาน
(ข) เพื่อริเริ่มให้มีการลาคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้าง หรือได้ผลประโยชน์ทางสังคมที่
เปรียบเทียบได้ โดยไม่สูญเสียการงานเดิม อาวุโสในการทำงานหรือเงินช่วยเหลือทางสังคม
(ค) เพื่อกระตุ้นให้มีบริการสังคมอันเป็นตัวสนับสนุนที่จำเป็น เพื่อที่จะช่วยให้บิดามารดา
สามารถรวมข้อผูกพันทางครอบครัวเข้ากับความรับผิดชอบในการงานและการเข้าร่วมในกิจการ
สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยผ่านการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งและพัฒนาขอบข่ายของสวัสดิการ
ด้านการเลี้ยงดูเด็ก
(ง) ให้มีการคุ้มครองเป็นพิเศษแก่สตรีที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ในการทำงานทุกรูปแบบ
ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นอันตรายต่อสตรีเหล่านั้น
๓. บทบัญญัติของกฎหมายด้านการคุ้มครองที่เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่มีอยู่ในข้อนี้จะได้รับ
การพิจารณาเป็นครั้งคราวในแง่ของความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและจะได้รับการแก้ไข
ยกเลิก หรือขยาย เท่าที่จะเป็น
(๒.๔) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ ค.ศ. ๑๙๖๕
(พ.ศ. ๒๕๐๘) มีผลบังคับใช้วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๓๒ ประเทศไทย มีสาระสำคัญ ดังนี้
๑. การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ หมายถึง การจำแนก การกีดกัน การจำกัด หรือการเลือกโดย
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๓๙
Master 2 anu .indd 39 7/28/08 8:46:34 PM