Page 37 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 37
บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
และคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
(๓) รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับที่จะ
(ก) ประกันว่า บุคคลใดที่มีสิทธิหรือเสรีภาพของตนซึ่งรับรองไว้ในกติกานี้ถูกละเมิด
ต้องได้รับการเยียวยาอย่างเป็นผลจริงจัง โดยไม่คำนึงว่าการละเมิดนั้นจะกระทำโดยบุคคลผู้ปฏิบัติการ
ตามหน้าที่หรือไม่
(ข) ประกันว่า บุคคลใดที่เรียกร้องการเยียวยาดังกล่าวย่อมมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณา
จากฝ่ายตุลาการ ฝ่ายบริหาร หรือฝ่ายนิติบัญญัติที่มีอำนาจ หรือจากหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจตามที่
กำหนดไว้โดยระบบกฎหมายของรัฐ และจะพัฒนาหนทางการเยียวยาด้วยกระบวนการยุติธรรมทางศาล
(ค) ประกันว่า รัฐบาลไทยจะเคารพและประกันสิทธิของแรงงานข้ามชาติหรือคนทุกชาติ
ที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย โดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าเพราะคนเหล่านั้นจะมีเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ เพศ ผิวสี
อะไร ถือว่ามีความเชื่อทางลัทธิหรือศาสนาหรือไม่ก็ตาม หรือมีความคิดเห็นทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม หากมีการละเมิดสิทธิบุคคลเหล่านั้นภายในประเทศไทย รัฐบาลจะต้องอำนวย
การให้บุคคลนั้นได้รับการเยียวยา ทั้งในกระบวนการยุติธรรม และในทางการบริหารของภาครัฐ
ข้อ ๑๓
สิทธิคนต่างด้าว คนต่างด้าวผู้อยู่ในดินแดนของรัฐภาคีแห่งกติกานี้โดยชอบด้วย
กฎหมาย อาจถูกไล่ออกจากรัฐนั้นได้โดยคำวินิจฉัยอันได้มาตามกฎหมายเท่านั้น และผู้นั้นย่อมได้รับ
อนุญาตให้ชี้แจงแสดงเหตุผลคัดค้านการขับไล่ออกจากรัฐนั้น และขอให้มีการทบทวนเรื่องของตนโดย
เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ หรือบุคคล หรือคณะบุคคล ที่แต่งตั้งขึ้นเฉพาะเพื่อการนี้โดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ
โดยได้รับอนุญาตให้มีผู้แทนเพื่อวัตถุประสงค์ข้างต้นได้ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุผลจำเป็นอย่างอื่น
ด้านความมั่นคงของชาติ
ข้อ ๑๙
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การแสดงออก รวมถึงการรับ และเผยแพร่ข้อมูล
ข่าวสาร
๑. บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง
๒. บุคคลทุกคนมีสิทธิในเสรีภาพแห่งการแสดงออก สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา รับและ
เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและความคิดทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ทั้งนี้ ไม่ว่าด้วยวาจา
เป็นลายลักษณ์อักษรหรือการตีพิมพ์ในรูปของศิลปะ หรือโดยอาศัยสื่อประการอื่นตามที่ตนเลือก
๓. การใช้สิทธิตามที่บัญญัติในวรรค ๒ ของข้อนี้ จะต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบพิเศษ
ควบคู่ไปด้วย การใช้สิทธิดังกล่าวอาจมีข้อจำกัดในบางเรื่อง แต่ทั้งนี้ข้อจำกัดนั้นต้องบัญญัติไว้ใน
กฎหมายและจำเป็นต่อ
(ก) การเคารพในสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น
(ข) การรักษาความมั่นคงของชาติ หรือความสงบเรียบร้อย หรือการสาธารณสุข หรือ
ศีลธรรมของประชาชน
‰‰‰‰‰‰‰‰‰‰‰‰‰ ข้อ ๒๑ สิทธิในการชุมนุมโดยสงบย่อมได้รับการคุ้มครอง การจำกัดสิทธินี้กระทำได้โดย
กฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็นในระบอบประชาธิปไตยหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ข้อ ๒๒
(ก) บุคคลย่อมมีสิทธิในเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม รวมทั้งสิทธิที่จะก่อตั้งและเข้า
ร่วมสหภาพแรงงานเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตน
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๓๗
Master 2 anu .indd 37 7/28/08 8:46:30 PM