Page 34 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 34
๒
บทที่
และเสรีภาพขั้นพื้นฐานของปัจเจกบุคคล
และกลุ่มชน และต่อมาได้พัฒนาเป็นปฏิญญา
สนธิสัญญา หรืออนุสัญญาระหว่างประเทศ
มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติระหว่างประเทศที่รัฐ
พึงมีความรับผิดชอบต่อบุคคลในเขตอำนาจรัฐ*
ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติครั้งแรกเมื่อ
ค.ศ.๑๙๔๘ (พ.ศ. ๒๔๙๑)ได้ขอให้คณะกรรมาธิการ
สิทธิมนุษยชนที่จัดตั้งขึ้นพิจารณาร่างปฏิญญา
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
ซึ่งต่อมาได้รับรองและประกาศใช้ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ครั้งที่ ๓ ที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ ึ่งต่อมาได้รับรองและประกาศใช้ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ
ซ
๑๐ ธันวาคม ค.ศ.๑๙๔๘ (พ.ศ.๒๔๙๑) เรียกว่า ปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชน (Universal
Declaration of Human Rights-UDHR) ถือเป็นหลักฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่สำคัญ
และถือเป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่รัฐพึงจัดให้มีมาตรการเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน**
วัตถุประสงค์ของการจัดทำปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เพื่อกำหนดหลักการและ
มาตรฐานความเข้าใจกันในบทบัญญัติของกฎบัตรสหประชาชาติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ปฏิญญา
ประกอบด้วยหลักการและสาระสำคัญ รวม ๓๐ ประการ สรุปได้ดังนี้
๑. มนุษย์เกิดมาทุกคนมีศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ
๒. สิทธิที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ หรือห้ามเลือกปฏิบัติ เพราะความแตกต่างทาง เชื้อชาติ ผิว
*สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ “ข้อมูลพื้นฐานกลไกสิทธิมนุษยชนในระบบสหประชาชาติ” เอกสารลำดับที่ ๓
(๒๕๔๖) น.๒-๓
**กระทรวงการต่างประเทศ กรมองค์การระหว่างประเทศ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, คำนำ น.๑ (๒๕๔๘)
๓๔ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 34 7/28/08 8:46:08 PM