Page 33 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 33
บทที่ ๒
กรอบแนวคิด หลักกฎหมาย
และมาตรฐานสิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน
รายงานฉบับนี้ จะกล่าวถึงกรอบแนวคิดหลักกฎหมายภายในประเทศและกติการะหว่าง
ในประเทศที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
๒.๑ กรอบแนวคิดสิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน
(๑) ปฏิญญาสากลวาดวยสิทธิมนุษยชน
เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ระบบกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่ไม่สามารถป้องกันการ
รุกรานและการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมต่อมนุษย์ด้วยกันได้ ทำให้มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ
เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง เน้นความสำคัญของการสร้างสันติภาพ การรักษาความมั่นคงร่วมกันของ
มวลสมาชิกประชาคมโลก การเคารพสิทธิมนุษยชนถือเปนองคประกอบสำคัญในการประกัน
ความมั่นคงและสันติภาพของโลกและมวลมนุษยชาติ
กฎบัตรสหประชาชาติซึ่งได้รับการรับรอง
เมื่อ ค.ศ.๑๙๔๕ (พ.ศ. ๒๔๘๘) จึงได้บัญญัติ
เรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการเคารพ
สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างเป็น
สากล โดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องเชื้อชาติ เพศ
ภาษา หรือศาสนา และถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ
ของการพัฒนากฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่าง
ประเทศที่กำหนดให้รัฐสมาชิกมีพันธกรณีที่ต้อง
ให้การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๓๓
Master 2 anu .indd 33 7/28/08 8:45:44 PM