Page 32 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 32
๑
บทที่
๕.๒ ตารางแสดงจำนวนกรณีร้องเรียน การละเมิดสิทธิแรงงานภาครัฐ/รัฐวิสาหกิจ (๕๐ กรณี)
มิติการละเมิดสิทธิ จำนวน ร้อยละ
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน ๒๒ ๔๔
ความปลอดภัยในการทำงาน ๑ ๒
เงินทดแทน ประกันสังคม
เสรีภาพการรวมตัว
การจ้างงานไม่เป็นธรรม ๒๗ ๕๔
รวม ๕๐ ๑๐๐
๕.๓ กลุ่มแรงงานนอกระบบ มีกรณีร้องเรียนเพียง ๓ กรณี แต่เป็นการตรวจสอบและจัดทำข้อ
เสนอแนะเชิงนโยบายและกฎหมาย ทั้งกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ประกันสังคม เสรีภาพในการรวมตัว
ต่อรอง และการจ้างงานไม่เป็นธรรม
๕.๔ กลุ่มแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ มีกรณีร้องเรียน ๑๒ กรณี ซึ่งเกี่ยวพันกฎหมาย
คุ้มครองแรงงาน และการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรมเป็นหลัก แต่ในข้อเท็จจริงมีการละเมิดและไม่เป็นธรรม
ทั้งสวัสดิการ ความปลอดภัยในการทำงาน และเงินทดแทน จนถึงปัญหาจากนโยบายของรัฐที่ไม่
คุ้มครองจากระบบนายหน้าที่เอาเปรียบอย่างสูง
๕.๕ กลุ่มแรงงานข้ามชาติ มีเพียง ๑๘ กรณี เพราะมีข้อจำกัดที่ไม่กล้าร้องเรียนและไม่อาจเข้า
ถึงการปกป้องสิทธิได้โดยง่ายเนื่องจากกลัวถูกส่งกลับประเทศ ซึ่งประเด็นหลักเป็นปัญหาการคุ้มครอง
ตามกฎหมายแรงงานและการจ้างที่ไม่เป็นธรรม อย่างไรก็ตามไม่อาจปฏิเสธได้ว่าปัญหาการละเมิด
สิทธิแรงงานในกลุ่มนี้ เป็นผลจากการดำเนินนโยบายและการจัดระบบการบริหารแรงงานของรัฐที่ยัง
ไม่เอื้อให้เกิดการคุ้มครองแรงงานอย่างแท้จริง
๓๒ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 32 7/28/08 8:45:19 PM