Page 272 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 272
๓. ปรับปรุงระบบบริการและการขอรับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และ
มีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ระบบเชื่อมโยงฐานข้อมูลอัตโนมัติ (Online) เป็นต้น ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้แล้ว
เสร็จภายใน ๖ เดือน นับแต่วันที่ได้รับรายงานฉบับนี้
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
กระทรวงแรงงานและรัฐบาล
๑. ให้มีนโยบายเพื่อดูแลและคุ้มครองลูกจ้างหรือคนทำงานที่ประสบอันตรายจากการทำงานให้ได้รับ
การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกาย จนสามารถประกอบอาชีพที่เหมาะสม ได้ตามปกติ
ทั้งนี้ จำเป็นจะต้องปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.๒๕๓๗ ในเรื่องค่าทดแทนการ
ขาดรายได้ในระหว่างพักรักษาตัว โดยให้ได้รับค่าทดแทนการขาดรายได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่เหมาะสม เช่น
ร้อยละ ๘๐ ของค่าจ้าง โดยให้รัฐบาลร่วมรับผิดชอบด้วย เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของนายจ้าง หรือ
ขยายระยะเวลาการคุ้มครองตามกฎหมายจาก ๑ ปี เป็น ๒ ปี ขยายวงเงินค่ารักษาพยาบาล หรือค่าใช้จ่าย
ใด ๆ ที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายจนหายเป็นปกติ และให้มีนโยบายการฟื้นฟูสมรรถภาพของ
ร่างกาย การฝึกทักษะอาชีพ และการจัดหางานที่เหมาะสมให้กับลูกจ้าง และคนทำงานที่ประสบอันตราย
จากการทำงาน
๒. แก้ไขพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.๒๕๓๗ และพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓
ให้มีความสอดคล้องกันในประเด็นต่อไปนี้
๒.๑ แก้ไขอัตราการจ่ายเงินทดแทน หรือประโยชน์ทดแทนตามกฎหมายให้มีอัตราการจ่าย เท่ากัน
เช่น ร้อยละ ๖๐ ของค่าจ้าง
๒.๒ ให้มีการคุ้มครองในเรื่องเงินทดแทน หรือประโยชน์ทดแทนตามกฎหมาย ตั้งแต่วันแรก
ที่ประสบเหตุ
๓. ให้มีนโยบายหรือมาตรการเชิงป้องกันสำหรับลูกจ้างที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับงานขนส่ง หรือการขับขี่
ยานพาหนะ เนื่องจากเป็นงานเสี่ยงอันตราย เกิดผลกระทบต่อครอบครัว การผลิต และสังคมโดยรวม
ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนงาน กิจกรรม และการประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อลดความเสี่ยง
อันตรายในการทำงาน โดยตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ความรู้และความรับผิดชอบในการขับขี่
ชั่วโมงการทำงาน ที่ยาวนาน และพนักงานที่มีอายุมาก โดยกำหนดเป็นแผนงานระยะยาว มิใช่จำกัดแต่เพียง
การรณรงค์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของหน่วยงานที่รับผิดชอบเท่านั้น
๔. ขอให้ถือเป็นพันธกิจของกระทรวงแรงงานที่จะนำหลักการ และแนวความคิดด้านสิทธิ มนุษยชน
มากำหนดนโยบายและดำเนินการตามแผนงานของกระทรวงแรงงานในทุกระดับ รวมทั้งการพัฒนาบุคลากร
ให้มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
ทั้งนี้ ให้ประยุกต์มาตรการเชิงป้องกันดังกล่าวใช้กับภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงอันตรายใน
การทำงานตามความเหมาะสมด้วย
๒๗๒ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 272 7/28/08 9:23:14 PM