Page 271 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 271
การแก้ไขปัญหาของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
ด้วยความตระหนักถึงผลกระทบที่ผู้ร้องและครอบครัวได้รับ จากกรณีผู้ร้องประสบอันตรายจากการ
ทำงาน เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ตลอดจนเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่
ผู้ร้องและครอบครัว สามารถฟันฝ่าอุปสรรคและดำเนินชีวิตต่อไปได้ตามสมควร จึงพยายามเจรจาไกล่เกลี่ย
ระหว่างผู้ร้องกับผู้ถูกร้องที่ ๑ ผลปรากฏว่าทั้งสองสามารถตกลงกันได้ และคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานได้
ทำบันทึก ข้อตกลงไว้ มีสาระสำคัญดังนี้
๑. ผู้ถูกร้องตกลงจ่ายเงินจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) ซึ่งเป็นเงินสินไหมทดแทน
กรณีทุพพลภาพจากสัญญาประกันภัยที่ผู้ถูกร้องทำไว้ให้แก่ผู้ร้อง
๒. ผู้ถูกร้องที่ ๑ ตกลงจ่ายค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างให้ผู้ร้องเป็นเงินจำนวน ๔๓,๘๐๐ บาท (สี่หมื่นสาม
พันแปดร้อยบาทถ้วน) และสินจ้างกรณีมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกจ้าง เป็นเงินจำนวน ๗,๓๐๐ บาท
(เจ็ดพันสามร้อยบาทถ้วน) ซึ่งผู้ร้องได้รับเงินจำนวนดังกล่าวครบถ้วนแล้ว
อนึ่ง คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานได้ขอให้ผู้ถูกร้องที่ ๑ พิจารณาเพื่อความเป็นธรรมโดยจ่ายเงิน
โบนัสให้แก่ผู้ถูกร้อง จำนวน ๑ เดือน เป็นเงิน ๗,๓๐๐ บาท และเงินช่วยเหลือการยังชีพของผู้ร้องในระหว่าง
ที่ยังไม่สามารถทำงานได้ เป็นเงินเดือนละ ๓,๐๐๐ บาท เป็นเวลา ๑๒ เดือน รวมเป็นเงิน ๓๖,๐๐๐ บาท
(สามหมื่นหกพันบาทถ้วน) ในส่วนนี้ผู้ถูกร้องที่ ๑ รับไปพิจารณาแต่ในที่สุดไม่ตกลง แต่ผู้ร้องก็ไม่ติดใจ
ความเห็นและมติของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ในการประชุมครั้งที่ ๓๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๙ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติได้พิจารณามีมติเห็นชอบตามความเห็นของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน จึงมีมาตรการแก้ไข
ปัญหา และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังนี้
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีมติว่า ผู้ถูกร้องทั้งสอง ไม่สื่อ ไม่อธิบายสิทธิของผู้ร้อง
อันเนื่องจากประสบอันตรายจากการทำงานให้ถูกต้องครบถ้วน ปกปิดข้อมูลอันจะเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้าง
ดำเนินการให้ลูกจ้างลาออกจากงาน ทั้งๆ ที่ประสบอันตรายจากการทำงาน โดยเฉพาะผู้ถูกร้องที่ ๒ ปฏิบัติ
หน้าที่และบังคับใช้กฎหมายในลักษณะแยกส่วนและขาดประสิทธิภาพ ไม่ยอมรับการใช้สิทธิร้องเรียนของ
ผู้ร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด่วนตัดสินใจแนะนำให้ลูกจ้างลาออกโดยไม่คำนึงสิทธิ
ประโยชน์ตามกฎหมายอื่น ด่วนตัดสินในสิทธิของผู้ร้อง อันเป็นการไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ ถือเป็น
การละเมิดสิทธิของผู้ร้อง
มาตรการในการแก้ไขปัญหา
สำนักงานประกันสังคม
๑. ประสานงานกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อพัฒนาความรู้และความเข้าใจของ
เจ้าพนักงานในการบริหาร และการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานในภาพรวม มิใช่จำกัดอยู่แต่เฉพาะ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของตนเท่านั้น อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง สำหรับภาพรวมหรือการบูรณาการ
การบังคับใช้กฎหมายในกรณีร้องเรียนนี้ คือ การเชื่อมโยงพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ พระราช
บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และกฎกระทรวงว่าด้วย
การคุ้มครองแรงงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน พ.ศ.๒๕๔๗ ทั้งนี้เมื่อดำเนินการแล้ว ให้แจ้งผลให้คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบ
๒. ประสานงานกับกรมการประกันภัย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และสถานประกอบการที่
ทำสัญญาประกันภัย เพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่งหรือการขับขี่ยานยนต์ ให้ลูกจ้างได้รับ
ประโยชน์หรือสินไหมทดแทนโดยตรง เนื่องจากในสัญญาประกันภัยมักระบุให้นายจ้างเป็นผู้รับประโยชน์
ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงานฉบับนี้
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๗๑
Master 2 anu .indd 271 7/28/08 9:23:14 PM