Page 270 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 270

๒. ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน ไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท
                      ๑.๕ ค่าทดแทน กรณีทุพพลภาพเนื่องจากการทำงานได้รับค่าทดแทนเป็นรายเดือนร้อยละ ๖๐
              ของค่าจ้างรายเดือน โดยจ่ายตามประเภททุพพลภาพ แต่ไม่เกิน ๑๕ ปี
                    ๒. พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มีสาระสำคัญดังนี้
               ๒.๑ ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ สิ้นสุดลง เมื่อผู้ประกันตนนั้นตาย หรือสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
              (มาตรา ๓๘)
                      ๒.๒ ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๓ จ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่า ๑๒ เดือน ต่อมา
              ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงตามมาตรา ๓๘ (ข้อ ๒.๑) หากประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดง
              ความจำนงต่อสำนักงานประกันสังคม ภายใน ๖ เดือน นับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน (มาตรา ๓๙)
                      ๒.๓ ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ สิ้นสุดลงเมื่อ (๑) ผู้ประกันตนตาย (๒) ได้เป็น ผู้
              ประกันตนตามมาตรา ๓๓ อีก (๓) ลาออกจากผู้ประกันตน โดยแจ้งสำนักงานประกันสังคม (๔) ไม่ส่งเงิน
              สมทบสามเดือนติดต่อกัน หรือภายในเวลา ๑๒ เดือน ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ครบ ๙ เดือน (มาตรา ๔๑)
                    ๓. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ มีสาระสำคัญดังนี้
                      ๓.๑ หากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง โดยไม่ปรากฏความผิดในกรณีใดกรณีหนึ่ง ได้แก่ ทุจริตต่อ
              หน้าที่ กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย หรือฝ่าฝืนระเบียบ
              หรือคำสั่งของนายจ้างที่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรม เว้นแต่กรณีร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
              เป็นต้น นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามอัตราที่กฎหมายกำหนด (มาตรา ๑๑๙)
                      ๓.๒ อัตราค่าชดเชย คำนวณจากค่าจ้างอัตราสุดท้ายของผู้ถูกเลิกจ้าง (มาตรา ๑๑๘) มีดังนี้
                          ทำงานครบ ๑๒๐ วัน            แต่ไม่ครบ ๑ ปี     ค่าชดเชย ๓๐ วัน
                          ทำงานครบ ๑ ปี               แต่ไม่ครบ ๓ ปี     ค่าชดเชย ๙๐ วัน
                          ทำงานครบ ๓ ปี               แต่ไม่ครบ ๖ ปี     ค่าชดเชย ๑๘๐ วัน
                          ทำงานครบ ๖ ปี               แต่ไม่ครบ ๑๐ ปี    ค่าชดเชย ๒๔๐ วัน
                          ทำงานครบ ๑๐ ปีขึ้นไป        ค่าชดเชย ๓๐๐ วัน
                    ๔. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ มีสาระ
              สำคัญว่าหากศาลแรงงานพิจารณาเห็นว่าการเลิกจ้างนั้นไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้าง ศาลมีอำนาจสั่งให้นายจ้าง
              รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานเช่นเดิม แต่หากเห็นว่านายจ้างลูกจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันได้ ศาลจะกำหนดให้
              นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายแก่ลูกจ้าง โดยให้ศาลคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง
              ความเดือดร้อนของ ลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ
              ประกอบการพิจารณา ตามแนวคำพิพากษาของศาล  จะกำหนดค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
              โดยคิดจากค่าจ้างอัตราสุดท้าย และคำนวณตามอายุงานของลูกจ้างให้ปีละเท่ากับค่าจ้างหนึ่งเดือน
                    ๕. ข้อตกลงระหว่างประเทศ
                      ๕.๑ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (พ.ศ.๒๔๙๑)
                         ข้อ ๓ คนทุกคนมีสิทธิในการดำรงชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงแห่งตัวตน
                         ข้อ ๒๕ (๑) ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอ สำหรับสุขภาพ และความเป็น
              อยู่ดีของตนและครอบครัว รวมทั้งเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการดูแลรักษาทางการแพทย์ และบริการทาง
              สังคมที่จำเป็น และมีสิทธิในความมั่นคงยามว่างงาน เจ็บป่วย พิการ เป็นหม้าย วัยชรา หรือขาดอาชีพอื่นใน
              พฤติการณ์ที่นอกเหนืออำนาจของตน
                      ๕.๒  กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ  สังคม  และวัฒนธรรม  (พ.ศ.๒๕๐๙)
              ที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๒
              		    	 ข้อ ๙ รัฐภาคีแห่งกติกาฉบับนี้รับรองสิทธิของทุกคน ในอันที่จะมีสวัสดิการสังคม รวมทั้งการประกันสังคม

        ๒๗๐  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   270                                                                     7/28/08   9:23:14 PM
   265   266   267   268   269   270   271   272   273   274   275