Page 269 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 269

ประการที่สอง
                    ในระหว่างที่ผู้ร้องต้องไปพักอาศัยอยู่ที่บ้านภรรยาของผู้ร้องที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  ผู้ร้องไม่ได้
              รับความสะดวกในการขอรับเงินทดแทน การขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร เพราะ
              ผู้ร้องมีหน้าที่ต้องส่งหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับการรักษาให้แก่นายจ้าง ผู้ถูกร้องที่ ๑ เพื่อทำเรื่องขอเบิกจ่าย
              และโอนเงินให้ผู้ร้องทางธนาคาร
                    ส่วนแพทย์ที่โรงพยาบาลในจังหวัดนครศรีธรรมราช  ไม่ยอมนัดให้ผู้ร้องไปรักษาตัวอีก  อ้างว่า
              “ไม่ทราบว่าจะรักษาอะไรอีก ทำกายภาพบำบัดที่บ้านของผู้ร้องก็ได้ จึงไม่อาจออกใบรับรองแพทย์ให้แก่
              ผู้ร้องได้” ทำให้ผู้ร้องไม่อาจขอรับค่าทดแทนการขาดรายได้ และสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทนได้
                    กรณีนี้แสดงให้เห็นโดยชัดเจนว่า การจัดระบบบริหารในภาพรวม และการบูรณาการหน่วยงานต่างๆ
              ที่เกี่ยวข้อง ยังมีจุดอ่อนหรือข้อจำกัดที่ไม่เอื้ออำนวยประโยชน์แก่ผู้ร้อง หรือลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการ
              ทำงาน
              	     ประการที่สาม
                    เมื่อประมาณต้นเดือนกุมภาพันธ์  ๒๕๔๘  ผู้ร้องและภรรยาของผู้ร้องได้ไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่
              สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร เจ้าหน้าที่ได้พูดกับบุคคลทั้งสองว่า “ทำไมต้องร้องเรียน ชอบทำ
              เรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้เกินจำนวนที่กองทุนเงินทดแทนจ่ายแล้ว นายจ้าง
              มีสิทธิจะไม่จ่ายค่ารักษาก็ได้  จะเรียกร้องอะไรอีก”  คำกล่าวของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวแสดงโดยแจ้งชัดว่า
              เจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจในสิทธิการร้องเรียนหรือการร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อันเป็นกลไก
              คุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ ไม่เข้าใจภาวะจิตใจ และความทุกข์ร้อนที่ผู้ร้องและครอบครัวได้รับใน
              ระหว่างการรักษาตัว  การร้องเรียนจึงกลายเป็นความผิดของผู้ร้องและภรรยาของผู้ร้อง  ทั้งยังได้ปกป้อง
              นายจ้าง ผู้ถูกร้องที่ ๑ ว่าได้รับผิดชอบต่อผู้ร้องครบถ้วนทุกประการแล้ว และกระทำตนเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดว่า
              นายจ้าง ผู้ถูกร้องที่ ๑ ไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลในส่วนที่เกินกองทุนเงินทดแทน ผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้อง
              อะไรอีก นับเป็นกรณีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นการปฏิบัติหน้าที่ การบริหาร และการบังคับใช้กฎหมายที่ยังขาด
              ประสิทธิภาพและไม่สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูประบบราชการเพื่อให้ประชาชนพึ่งพาได้

              	     หลักกฎหมายและกติการะหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
                    ๑. พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.๒๕๓๗ มีสาระสำคัญดังนี้
                      ๑.๑ ค่ารักษาพยาบาล
                      ได้รับเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน  ๓๕,๐๐๐  บาท  ต่อการประสบอันตราย  หรือเจ็บป่วย  ๑  ครั้ง
              หากเป็นกรณีมีความรุนแรง  ให้เบิกเพิ่มได้ในวงเงินไม่เกิน  ๒๐๐,๐๐๐  บาท  ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
              (มาตรา ๑๓ ประกอบระเบียบของสำนักงานประกันสังคม)
                      ๑.๒ ค่าทดแทนการขาดรายได้ กรณีที่ไม่สามารถทำงานได้ติดต่อกันเกิน ๓ วัน
               ได้รับค่าทดแทนเป็นรายเดือนร้อยละ ๖๐ ของค่าจ้างรายเดือน โดยจ่ายตั้งแต่วันแรกไปตลอดระยะเวลาที่ไม่
              สามารถทำงานได้เท่าที่แพทย์สั่งไม่เกิน ๑ ปี (มาตรา ๑๘)
                      ๑.๓ ค่าทดแทน กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของอวัยวะบางส่วน
              ได้รับค่าทดแทนเป็นรายเดือนร้อยละ ๖๐ ของค่าจ้างรายเดือนตามประเภทของการสูญเสียแต่ไม่เกิน ๑๐ ปี
              (มาตรา ๑๘)
                      ๑.๔  ค่าใช้จ่ายกรณีฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานภายหลังการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
              (มาตรา ๑๕)
                        สำหรับลูกจ้างที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูได้รับตามอัตราดังนี้
                        ๑. ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟู ด้านการแพทย์ และอาชีพ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท

                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๖๙





     Master 2 anu .indd   269                                                                     7/28/08   9:23:13 PM
   264   265   266   267   268   269   270   271   272   273   274