Page 267 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 267

เมื่อผู้ร้องไปรับการรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครศรีธรรมราช อันเป็นโรงพยาบาลนอกเขต
              พื้นที่เกิดเหตุ  ผู้ร้องไม่สามารถยื่นเอกสารเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ต่อสำนักงานประกันสังคมจังหวัด
              นครศรีธรรมราชได้  เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร  สาขากระทุ่มแบน  ชี้แจงว่า
              เนื่องจากไม่มีระบบเชื่อมโยง ฐานออนไลน์
                    อนึ่ง เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม ได้ชี้แจงปัญหาข้อกฎหมาย และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับกรณี
              ร้องเรียน ดังนี้
                    ๑. เมื่อลูกจ้างต้องพักรักษาตัว จึงไม่ได้ทำงาน และไม่ได้รับค่าจ้าง จึงไม่มีค่าจ้างที่จะหักเพื่อนำ
              ส่งกองทุนประกันสังคม เจ้าหน้าที่จึงแนะนำให้ใช้มาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓
                    ๒. กรณีลูกจ้างประสบอันตราย ไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดง แม้ต่อมาคณะอนุกรรมการแพทย์จะลง
              ความเห็นว่าทุพพลภาพถาวร ลูกจ้างก็ไม่มีสิทธิ์รับค่าทดแทนการขาดรายได้ย้อนหลังกรณีกองทุนเงินทดแทน
              ให้คุ้มครองค่าทดแทนการขาดรายได้เป็นเวลา ๑ ปี ไม่สอดคล้องกับการคุ้มครองของกองทุนประกันสังคม
              ที่ให้การคุ้มครองหลังจากสิ้นสุดการจ้างเพียง ๖ เดือน

              ความเห็นของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
                    คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานได้พิจารณาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานจากทั้งผู้ร้อง  ผู้ถูกร้อง
              เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม และผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว จึงได้พิจารณาตามประเด็นการตรวจสอบ ดังนี้
              	     ประเด็นที่หนึ่ง  ผู้ถูกร้องทั้งสองให้ผู้ร้องลาออกจากงาน  เพื่อเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา  ๓๙
              แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ร้องหรือไม่ จากการตรวจสอบ
              ได้ความว่า ผู้ร้องไม่มีความรู้ในเรื่องสิทธิตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ พระราชบัญญัติ
              ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และไม่รู้แม้กระทั่งสวัสดิการหรือผลประโยชน์ที่ผู้ถูกร้องที่ ๑ จัดให้เป็นสภาพ
              การจ้าง ทั้งเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาครก็มิได้ชี้แจงหรืออธิบายสิทธิของผู้ร้องแต่อย่าง
              ใด  ผู้ร้องวิตกกังวลเป็นอย่างยิ่งว่า  ผู้ถูกร้องที่  ๑  หรือหน่วยงานราชการใด  จะเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับ
              ค่ารักษาพยาบาลของผู้ร้องจนหายดี ดังนั้น ผู้ร้องรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลเกษมราษฎร์เพียง ๕ วัน จึง
              ขอย้ายไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเลิดสิน  ด้วยเกรงว่าจะไม่มีค่ารักษาพยาบาล  และผู้ร้องได้ทำเรื่องการ
              สงเคราะห์ผู้ยากไร้ เพื่อขอส่วน ลดค่ารักษาพยาบาล
                    ในระหว่างที่ผู้ร้องตกอยู่ในภาวะวิตกกังวลในเรื่องการรักษาพยาบาล อันเนื่องจากการปฏิบัติงานให้
              นายจ้าง  ภรรยาของผู้ร้องต้องออกจากงานเพื่อดูแลผู้ร้อง  และยังมีภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวอีกด้วย
              ผู้จัดการฝ่ายบุคคลของผู้ถูกร้องที่ ๑ ได้บอกให้ผู้ร้องลาออก และให้สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙
              แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓ เพื่อจะได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลจากสำนักงานประกัน
              สังคม ตามที่เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาครแนะนำ ซึ่งเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม
              จังหวัดสมุทรสาครก็ยอมรับว่าได้แนะนำให้ผู้ร้องดำเนินการเพื่อให้เกิดสิทธิตามมาตรา ๓๙
                    คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานเห็นว่า การเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ ต้องเป็นเรื่องการแสดง
              เจตนาโดยเสรีของผู้ร้อง มิใช่เกิดจากความไม่รู้กฎหมาย ความกดดัน หรือตกอยู่ในภาวะจำยอม อีกทั้งการ
              เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา ๓๙ ผู้ร้องจะต้องจ่ายเงินสมทบในส่วนที่นายจ้างต้องจ่าย เพราะไม่มีนายจ้าง
              ร่วมจ่าย น่าจะเป็นภาระแก่ผู้ร้อง เพราะทุพพลภาพ ยังไม่รู้ว่าจะประกอบอาชีพหรือทำการงานเพื่อมีรายได้
              เลี้ยงตนเอง และครอบครัวอย่างไร ที่ผ่านมาต้องดำรงชีพด้วยรายได้ของภรรยาเท่านั้น
              	     การให้ผู้ร้องลาออก และเมื่อผู้ร้องได้ลาออก ทำให้สูญเสียสิทธิในค่าชดเชย ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าว
              ล่วงหน้า และสิทธิประโยชน์อื่นจากนายจ้าง ตลอดจนไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในประเด็นการเลิกจ้างโดยไม่
              เป็นธรรม สูญเสียหลักประกันในความมั่นคงในการทำงาน และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายของผู้ร้อง
              	     การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองจึงเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ร้อง

                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๖๗





     Master 2 anu .indd   267                                                                     7/28/08   9:23:12 PM
   262   263   264   265   266   267   268   269   270   271   272