Page 268 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 268
ประเด็นที่สอง
ผู้ถูกร้องทั้งสองได้ดำเนินการให้ผู้ร้องได้รับสิทธิประโยชน์ เนื่องจากการประสบอันตรายจากการทำงาน
ให้นายจ้าง ครบถ้วนหรือไม่
สืบเนื่องจากที่ผู้ร้องไม่รู้สิทธิของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นสิทธิตามกฎหมายหรือสวัสดิการที่นายจ้างจัด
ให้ก็ตาม ในระหว่างการรักษาตัวที่โรงพยาบาลก็ไม่ปรากฏว่าผู้ถูกร้อง หรือเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม
ได้แนะนำหรือให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิของผู้ร้อง
นอกจากนี้ ยังปรากฏข้อเท็จจริงอีกว่า ตามที่ผู้ถูกร้องที่ ๑ ทำประกันอุบัติเหตุให้แก่ลูกจ้างที่มีหน้าที่เกี่ยว
กับการขับรถหรือขนส่ง ผู้ถูกร้องที่ ๑ ก็มิได้แจ้งข้อมูลหรือรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ เอกสารต่างๆ
ที่เกี่ยวข้อง ผู้ถูกร้องที่ ๑ ก็เก็บรักษาไว้ และยังเป็นผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุทั้งหมด
ข้อมูลเหล่านี้ ปรากฏในชั้นตรวจสอบ และการไกล่เกลี่ยแก้ไขปัญหาของคณะอนุกรรมการสิทธิ
แรงงาน ผู้ร้องจึงได้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ดังกล่าว
คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานเห็นว่า ผู้ถูกร้องที่ ๑ มิได้แจ้งสิทธิประโยชน์ของผู้ร้องมีพฤติการณ์สื่อ
แสดงในทางปกปิดข้อมูล และมิได้ดำเนินการที่เหมาะสม เพื่อมิให้ผู้ร้องได้รับสิทธิประโยชน์ครบถ้วน การทำ
ประกันภัยให้ผู้ร้องในฐานะลูกจ้างที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่ยานยนต์และการขนส่ง อันเป็นการคุ้มครอง
ชีวิต ร่างกาย และรายได้ของผู้ร้อง เนื่องจากงานเสี่ยงอันตราย แต่ผู้ถูกร้องที่ ๑ กลับทำสัญญาประกันภัยให้
ตนเองเป็นผู้รับผลประโยชน์ ซึ่งไม่ตรงกับเจตนาในการคุ้มครองผู้ร้องและลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง และเป็นช่องทาง
ให้นายจ้าง ผู้ถูกร้องที่ ๑ แสวงหาผลประโยชน์จากกรณีดังกล่าวได้
การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองจึงเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ร้อง
ประเด็นที่สาม
เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมปฏิบัติหน้าที่และบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับกองทุนเงินทดแทนและ
กองทุนประกันสังคม ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย หรือเพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ร้องหรือไม่เพียงใด
จากการตรวจสอบ คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานเห็นว่าเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมปฏิบัติหน้าที่
บริหารงาน และบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับกองทุนเงินทดแทน และกองทุนประกันสังคมไม่สอดคล้องกับ
เจตนารมณ์ของกฎหมาย ขาดการคิดค้นวิธีการหรือสร้างกฎเกณฑ์เพื่ออำนวยสิทธิประโยชน์แก่ผู้ร้องตามสิทธิ
หรือกฎหมาย มีสาระสำคัญดังนี้
ประการที่หนึ่ง
เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร ในฐานะหน่วยงานราชการที่มีหน้าที่โดยตรง มิได้
ทำหน้าที่อธิบายหลักกฎหมาย และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ผู้ร้องจะได้รับไม่ว่าจากส่วนใด ทั้งๆ ที่เป็นหน้าที่
โดยตรง
ในทางตรงกันข้าม เจ้าหน้าที่ดังกล่าวกลับแนะนำให้ผู้ร้องลาออกจากงาน เพื่อสมัครเป็นผู้ประกันตน
ในกรณีสิ้นสุดการจ้างแล้ว ตามมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓ เพื่อจะได้รับ
ค่ารักษาพยาบาลต่อไป โดยมิได้คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้ร้อง ทั้งในเรื่องภาระที่ผู้ร้องจะต้องจ่ายเงินสมทบใน
สองส่วน ทั้งๆ ที่ยังไม่ทราบเลยว่าผู้ร้องจะทำงานหรือมีรายได้หรือไม่เพียงใด และการลาออกทำให้ผู้ร้องต้อง
สูญเสียสิทธิในเรื่องค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘
และมาตรา ๑๑๙ ค่าเสียหายในกรณีที่ หากเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาล
แรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ และสิทธิประโยชน์ตามกองทุนเงินทดแทน
หรือสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากนายจ้าง ผู้ถูกร้องที่ ๑ หากยังคงเป็นลูกจ้างต่อไป นับเป็นการปฏิบัติหน้าที่หรือ
บริหารกฎหมายในลักษณะแยกส่วน คำนึงแต่สิทธิประโยชน์เฉพาะกฎหมายที่หน่วยงานของตนเกี่ยวข้อง
เท่านั้น
๒๖๘ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 268 7/28/08 9:23:13 PM