Page 266 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 266

ภายหลังที่ได้ร้องเรียนแล้ว ผู้ร้องได้ไปพักอาศัยที่บ้านภรรยาที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างนี้ได้รับ
              ความเดือดร้อนในเรื่องการรักษาพยาบาล และการรับเงินทดแทนการขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคม
              ต้องส่งหลักฐานต่างๆ มาให้นายจ้าง ผู้ถูกร้องที่ ๑ เพื่อเบิกจ่าย และโอนเงินผ่านธนาคารให้ผู้ร้อง ส่วนการที่
              แพทย์โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ไม่นัดให้ไปรักษาตัวอีก อ้างว่าไม่ทราบว่าจะรักษาตัว
              อะไรอีก แนะนำให้ผู้ร้องทำกายภาพบำบัดที่บ้าน จึงไม่อาจออกใบรับรองแพทย์ได้ ทำให้ผู้ร้องไม่อาจรับค่า
              ทดแทนและสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทนได้
                    ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ผู้ร้องและภรรยาได้ไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด
              สมุทรสาคร เจ้าหน้าที่พูดว่า “ทำไมต้องร้องเรียน ชอบทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ นายจ้างจ่ายค่ารักษา
              พยาบาลให้เกินจากจำนวนที่กองทุนเงินทดแทนจ่ายแล้ว นายจ้างมีสิทธิจะไม่จ่ายค่ารักษาก็ได้ จะเรียกร้อง
              อะไรอีก”

              ข้อเท็จจริงฝ่ายผู้ถูกร้องที่ ๑
              	     ผู้ถูกร้องที่ ๑ ได้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ร้อง ในส่วนที่เกินจากกองทุนเงินทดแทน จำนวน ๑๐๐,๗๙๕ บาท
                    ผู้ถูกร้องที่ ๑ ยอมรับว่า มิได้ให้ข้อมูลหรือชี้แจงแก่ผู้ร้องในรายละเอียดเกี่ยวกับสวัสดิการหรือสิทธิ
              ประโยชน์ที่เกี่ยวกับการประสบอันตรายอันเนื่องจากการทำงาน  และมิได้บอกผู้ร้องว่าตามกรมธรรม์ของ
              บริษัทประกันภัยที่ทำให้แก่ผู้ร้องนั้น นายจ้าง ผู้ถูกร้องที่ ๑ เป็นผู้รับประโยชน์
                    เกี่ยวกับใบลาออกนั้น ผู้จัดการฝ่ายบุคคลของผู้ถูกร้องที่ ๑ เป็นผู้จัดทำ โดยได้รับคำแนะนำจาก
              เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร  เพื่อจะได้สมัครเป็นผู้ประกันตน  ตามมาตรา  ๓๙
              แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓ แต่ก็ไม่ได้รับใบลาออกจากผู้ร้อง
                    ต่อมา นายจ้าง ผู้ถูกร้องที่ ๑ ได้มีหนังสือเลิกจ้างผู้ร้อง ฉบับลงวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๔๘ โดย
              ให้มีผลวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ซึ่งผู้ถูกร้องยินยอมจ่ายเงินค่าชดเชย จำนวน ๔๓,๘๐๐ บาท และสินไหม
              ทดแทนจากบริษัทประกันภัย  จำนวน  ๑๐๐,๐๐๐  บาท  รวมทั้งสิ้น  ๑๔๓,๘๐๐  บาท  ในวันที่มาชี้แจง
              ต่อ คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
                    ข้อเท็จจริงฝ่ายเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม (จังหวัดสมุทรสาคร และส่วนกลาง)
                    วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๘ เจ้าหน้าที่กองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคมได้มีหนังสือชี้แจง
              ผลการพิจารณาสิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทน กรณีผู้ร้อง ถึงคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานว่า ผู้ร้อง
              ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน จึงมีสิทธิได้รับประโยชน์ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ ดังนี้
                    ๑. ค่ารักษาพยาบาล
                    ผู้ร้องจะได้รับเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๓๕,๐๐๐ บาท ต่อการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ๑ ครั้ง
              ในกรณีที่มีค่าใช้จ่ายเกินกว่า ๓๕,๐๐๐ บาท ให้จ่ายเพิ่มตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด แต่ไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท
              รวมค่ารักษาพยาบาลทั้งหมดไม่เกิน ๘๕,๐๐๐ บาท
                    ๒. ค่าทดแทนรายเดือน
                    กรณีผู้ร้องไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้เกิน ๓ วัน แต่ไม่เกิน ๑ ปี จะได้รับค่าทดแทนร้อยละ ๖๐
              ของค่าจ้างรายเดือน ไม่ต่ำกว่าเดือนละ ๒,๐๐๐ บาท และไม่เกินเดือนละ ๙,๐๐๐ บาท โดยไม่มีใบรับรอง
              แพทย์ ในส่วนนี้กองทุนเงินทดแทนได้จ่ายค่าทดแทนรายเดือนที่ผู้ร้องพักรักษาตัวเป็นเวลา ๓ เดือน เป็นเงิน
              ๑๓,๑๔๐ บาท ให้ผู้ร้องแล้ว
                    นอกจากนี้ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร สาขากระทุ่มแบน ได้นำเรื่องของผู้ร้องหารือ
              คณะอนุกรรมการแพทย์ เพื่อวินิจฉัยในเรื่องทุพพลภาพ หากปรากฏว่าผู้ร้องทุพพลภาพ ก็จะได้รับค่าทดแทน
              รายเดือน ในอัตราร้อยละ ๖๐ ของค่าจ้างรายเดือน เป็นระยะเวลา ๑๕ ปี เกี่ยวกับกรณีผู้ร้องที่ต้องไป
              พักอาศัยอยู่บ้านภรรยาที่จังหวัดนครศรีธรรมราช  เพื่อความสะดวกที่ภรรยาของผู้ร้องจะได้ดูแลผู้ร้องนั้น

        ๒๖๖  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   266                                                                     7/28/08   9:23:12 PM
   261   262   263   264   265   266   267   268   269   270   271