Page 265 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 265

ความต้องการของผู้ร้อง
                    ขอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติช่วยเหลือให้ผู้ร้องได้รับการรักษาพยาบาลจนหายเป็นปกติ
              และได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ครบถ้วน

              การดำเนินการตรวจสอบ
                    คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานพิจารณาคำร้องและคำชี้แจงของผู้ร้องแล้ว  จึงได้กำหนดประเด็น
              การตรวจสอบดังนี้
              	     ประเด็นที่หนึ่ง  ผู้ถูกร้องทั้งสองให้ผู้ร้องลาออกจากงานเพื่อเป็นผู้ประกันตน  ตามมาตรา  ๓๙
              แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นการละเมิดสิทธิของผู้ร้องหรือไม่
              	     ประเด็นที่สอง  ผู้ถูกร้องทั้งสองได้ดำเนินการให้ผู้ร้องได้รับสิทธิประโยชน์  เนื่องจากการประสบ
              อันตรายจากการทำงานให้นายจ้าง ครบถ้วนหรือไม่
              	     ประเด็นที่สาม เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมปฏิบัติหน้าที่และบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับกองทุนเงิน
              ทดแทนและกองทุนประกันสังคม ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย หรือเพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้ร้องหรือไม่เพียงใด

              การรับฟังข้อเท็จจริง
                    คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานได้รับฟังคำชี้แจงทั้งจากผู้ร้อง ผู้ถูกร้องทั้งสอง และเจ้าหน้าที่สำนักงาน
              ประกันสังคม  เขตพื้นที่  ๒  กรุงเทพมหานคร  และจังหวัดสมุทรสาคร  และได้รับเอกสารการจ่ายเงินตาม
              กรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุจากบริษัท ไพบูลย์ประกันภัย จำกัด แล้ว สรุปสาระสำคัญของข้อเท็จจริงได้ ดังนี้

              ข้อเท็จจริงฝ่ายผู้ร้อง
                    ผู้ร้องเป็นลูกจ้างของผู้ถูกร้องที่ ๑ ทำหน้าที่ส่งเอกสารโดยรถจักรยานยนต์ทำงานกับผู้ถูกร้องเป็นเวลา
              ๓ ปีเศษ ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ ๗,๓๐๐ บาท และนายจ้าง ผู้ถูกร้องที่ ๑ ได้ทำประกันภัยให้กับผู้
              ร้องไว้กับบริษัท ไพบูลย์ประกันภัย จำกัด แต่มิได้แจ้งข้อมูลหรือรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับการประกันภัยให้ผู้
              ร้องทราบแต่อย่างใด
                    เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๗ ผู้ร้องประสบอุบัติเหตุระหว่างปฏิบัติงาน คนขับรถบรรทุกคันที่ชน
              ผู้ร้องได้หลบหนีไป พลเมืองดีได้นำส่งผู้ร้องโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รักษาตัวอยู่ได้ ๕ วัน ผู้ร้องขอย้ายไป
              รักษาตัวที่โรงพยาบาลเลิดสิน และเกรงว่าจะไม่มีค่ารักษาพยาบาล แพทย์ลงความเห็นว่าผู้ร้องเป็นอัมพาต
              ตั้งแต่ช่วงเอวลงมา และไม่สามารถขับขี่รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ได้อีก
                    ในระหว่างการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ผู้ร้องได้ทำเรื่องการสงเคราะห์ผู้ยากไร้ไม่มีเงินรักษา เพื่อขอ
              ส่วนลดในเรื่องค่ารักษาพยาบาล
                    ผู้ร้องไม่ทราบว่านายจ้าง บริษัทประกันภัย และกองทุนเงินทดแทนได้ออกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษา
              พยาบาลของผู้ร้องจำนวนเท่าใด แต่ผู้ถูกร้องทั้งสองอ้างว่า นายจ้างผู้ถูกร้องที่ ๑ เป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาล
              ทั้งหมด
              	     ราวต้นเดือนกันยายน ๒๕๔๗ ผู้จัดการฝ่ายบุคคลของผู้ถูกร้องที่ ๑ ได้พูดจาเกลี้ยกล่อมให้ผู้ร้องลาออก
              จากงาน แล้วจะได้ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพหลังจากลาออก และให้สมัครเป็นผู้ประกัน
              ตนตามมาตรา ๓๙ ของกฎหมายประกันสังคม จะได้สิทธิการรักษาพยาบาลจากสำนักงานประกันสังคม
              	     ผู้ร้องไม่อาจทำงานได้ ขาดรายได้ ในขณะที่ภรรยาต้องลาออกจากงานเพื่อดูแลผู้ร้อง และผู้ร้องยังมีภาระ
              ในเรื่องค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำประปา และค่าไฟฟ้า และไม่ทราบว่าจะต้องรักษาตัวอีกนานเท่าใด จึงลงลายมือชื่อใน
              ใบลาออก มอบให้ภรรยาเพื่อส่งมอบให้นายจ้างต่อไป แต่เนื่องจากมีผู้แนะนำให้ภรรยาของผู้ร้องไปร้องเรียน
              ต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ภรรยาของผู้ร้องจึงมิได้ส่งมอบใบลาออกให้แก่นายจ้าง ผู้ถูกร้องที่ ๑

                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๒๖๕





     Master 2 anu .indd   265                                                                     7/28/08   9:23:12 PM
   260   261   262   263   264   265   266   267   268   269   270