Page 264 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 264

รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน

                                                       โดย

                                         คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

              รายงานผลการตรวจสอบ ที่ ๙๑/๒๕๕๐

              เรื่อง      กองทุนเงินทดแทนกรณีให้ลูกจ้างลาออกเนื่องจากประสบอันตรายจากการทำงาน

              ผู้ร้อง     นายสุดท้าย มากมี โดยนางประไพ มากมี ผู้ร้องแทน

              ผู้ถูกร้อง    (๑) บริษัท วนิชศิลป์อุตสาหกรรม จำกัด
                        (๒) เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม จังหวัดสมุทรสาคร

                    นางประไพ มากมี ภรรยาของนายสุดท้าย มากมี ในฐานะผู้ร้องแทน ได้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการ
              สิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นหนังสือ ตามเลขรับที่ ๕๗๘/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๗ อ้างว่าบริษัท
              วนิชศิลป์อุตสาหกรรม  จำกัด  และเจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสมุทรสาคร  ละเมิดสิทธิของ
              นายสุดท้าย มากมี ลูกจ้าง
                    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องแล้ว  เห็นว่ามีมูลและอยู่ใน
              อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงมอบหมายให้คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานดำเนิน
              การตรวจสอบตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  พ.ศ.๒๕๔๒  และระเบียบ
              คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน
              พ.ศ. ๒๕๔๕

              สาระสำคัญของคำร้อง
                    นายสุดท้าย มากมี ผู้ร้อง เป็นลูกจ้างของผู้ถูกร้องที่ ๑ ทำหน้าที่ส่งเอกสารโดยรถจักรยานยนต์ ต่อมา
              วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๗ ในระหว่างการทำงานผู้ร้องถูกรถบรรทุก ๖ ล้อ เฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ที่ผู้ร้อง
              ขับขี่ ทำให้ผู้ร้องได้รับอันตรายและเข้ารับการรักษาพยาบาล ณ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ แพทย์ลงความเห็น
              ว่าร่างกายตั้งแต่ช่วงเอวลงไปไม่มีความรู้สึก ขยับไม่ได้ เป็นเหตุให้ไม่สามารถปฏิบัติงานได้อีกต่อไป
                    หลังจากผู้ร้องประสบอุบัติเหตุได้เพียง ๗ วัน ผู้ร้องที่ ๑ พยายามเกลี้ยกล่อมให้ผู้ร้องลาออกจากงาน
              อ้างว่าจะให้เงินแก่ผู้ร้องจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ และสามารถ
              สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา  ๓๙  ของกฎหมายประกันสังคม  เมื่อผู้ร้องสอบถามเกี่ยวกับค่ารักษา
              พยาบาลและสวัสดิการที่ผู้ร้องจะได้รับ และผู้รับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว นายจ้างก็มิได้ตอบให้ชัดเจน ผู้ร้อง
              ไม่ทราบสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย หรือที่ผู้ร้องมีสิทธิได้รับจากผู้ถูกร้องที่ ๑ และหวั่นวิตกว่านายจ้างจะ
              ไม่รับผิดชอบในการรักษาพยาบาล


        ๒๖๔  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   264                                                                     7/28/08   9:23:11 PM
   259   260   261   262   263   264   265   266   267   268   269