Page 262 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 262

กระทรวงมหาดไทย
              
     ให้ดำเนินการตรวจสอบพฤติกรรมของนายอำเภอปลวกแดง  จังหวัดระยอง  ในกรณีข้อขัดแย้ง
              ด้านแรงงานสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับผู้ถูกร้อง  รวมทั้งกรณีนายอำเภอปลวกแดงอนุมัติการใช้สถานที่ของ
              อำเภอให้ผู้ถูกร้อง อบรมลูกจ้างในลักษณะที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
                    ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงานฉบับนี้


              กองทัพเรือ
                    ให้ดำเนินการตรวจสอบพฤติกรรมของทหารในสังกัดกองทัพเรือ ที่เข้าไปเกี่ยวข้องในระหว่างการเจรจา
              ข้อเรียกร้องและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานระหว่างผู้ร้องกับผู้ถูกร้อง ในระหว่างวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน
              ๒๕๔๙ ถึงประมาณวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๐
                    ทั้งนี้ ให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ๙๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงานฉบับนี้

              ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อกระทรวงแรงงานและรัฐบาล
              
     (๑) เร่งดำเนินการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพ
              ในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวกันและการ
              ร่วมเจรจาต่อรอง เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนและความพร้อมของประเทศไทยในเวทีสากล
                    (๒) ขอให้ถือเป็นพันธกิจของรัฐบาล ที่จะนำหลักการและแนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนในการกำหนด
              นโยบายและจัดทำแผนปฏิบัติการ รวมทั้งการพัฒนาบุคคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิมนุษยชน
              ขั้นพื้นฐาน
                    (๓) ประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่หลักการ แนวคิด กติการะหว่างประเทศ และมาตรการหรือแนวปฏิบัติ
              ที่สำคัญของรัฐหรือองค์กรไตรภาคี ในเรื่องสิทธิและเสรีภาพของลูกจ้างในการรวมตัวต่อรอง หรือการดำเนิน
              งานขององค์กรลูกจ้าง  การใช้มาตรฐานแรงงานไทย  ๘๐๐๑  หรือมาตรการจรรยาบรรณทางการค้าเพื่อ
              คุ้มครองสิทธิมนุษยชนด้านแรงงาน เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงานเอกชน และภาคประชาสังคมรับทราบ
              อย่างต่อเนื่อง
                    (๔) เร่งดำเนินการให้หน่วยงานของรัฐ สถานประกอบกิจการ และสถาบันทางวิชาการด้านแรงงาน
              ดำเนินการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติที่ถูกต้องในเรื่องการสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีใน
              สถานประกอบการ ให้เคารพการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องการจัดตั้งองค์กร การเจรจาต่อรอง และการ
              ดำเนินงานขององค์กร เพื่อให้มีหลักประกันทั้งในเรื่องการสร้างผลผลิตที่มีประสิทธิภาพและการแบ่งปันผล
              ประโยชน์อย่างเป็นธรรมระหว่างผู้จ้างงานกับคนทำงาน
                    (๕)  เร่งดำเนินการให้มีการประสานความร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงานและกระทรวงอื่นๆ  ที่
              เกี่ยวข้อง สถาบันทางวิชาการ สถาบันพัฒนาชุมชน และกลุ่มสหภาพแรงงานในเขตอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อ
              ส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านแรงงาน  เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องแรงงาน  การพัฒนา
              คุณภาพการผลิต และสิทธิมนุษยชน อันเป็นพื้นฐานที่สำคัญของระบบแรงงานสัมพันธ์
                    (๖) เร่งดำเนินการปฏิรูปกลไกและกระบวนการการจัดการความขัดแย้งทางด้านแรงงานสัมพันธ์ โดย
              ไม่ติดยึดหรือรอการแก้ไขปัญหาของกระบวนการยุติธรรมแต่เพียงอย่างเดียว





        ๒๖๒  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   262                                                                     7/28/08   9:23:09 PM
   257   258   259   260   261   262   263   264   265   266   267