Page 159 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 159

การละเมิดสิทธิแรงงาน
                                                                         คนทำงานภาคนอกระบบ






              	     ปัญหาความแตกต่างของสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคม ที่ควร
              พิจารณาปรับปรุงแก้ไข ได้แก่
              	     ๑. ขยายการคุ้มครองให้ครอบคลุมลูกจ้างภาครัฐทุกประเภท และลูกจ้างทำงานบ้าน
              ซึ่งปัจจุบันกฎหมายทั้ง ๒ ฉบับ	ยกเว้น การคุ้มครองลูกจ้างทำงานบ้าน โดยกองทุนประกันสังคม
              คุ้มครองลูกจ้างส่วนราชการ เฉพาะลูกจ้างชั่วคราวรายเดือน แต่กองทุนเงินทดแทนไม่คุ้มครองลูกจ้าง
              ทุกประเภทของราชการด้วย ทำให้ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการไม่ได้รับการคุ้มครองกรณีประสบ
              อันตราย หรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ยกเว้น หน่วยงานราชการนั้นจะมีระเบียบการช่วยเหลือเอง
              	     ๒. เงินทดแทนการขาดรายได้ที่จ่ายกรณีหยุดพักรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์จ่ายไม่เท่ากันคือ
              กองทุนประกันสังคมจ่ายอัตราร้อยละ  ๕๐	 ของค่าจ้าง  ตั้งแต่วันแรกที่หยุดงาน  ส่วนกองทุนเงิน

              ทดแทนจ่ายอัตราร้อยละ ๖๐ ของค่าจ้างรายเดือน โดยต้องหยุดพักรักษาตัวติดต่อกันเกิน ๓ วันขึ้นไป
              	     ๓. กองทุนเงินทดแทน คุ้มครองลูกจ้างทันทีตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงานแต่กองทุนประกันสังคม
              ลูกจ้างจะได้รับสิทธิประโยชน์เมื่อจ่ายเงินสมทบครบตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด  เช่น  กรณี
              เจ็บป่วยและทุพพลภาพต้องจ่ายเงินสมทบอย่างน้อย ๓ เดือน ปัญหาการเจ็บป่วยที่ไม่ใช่เนื่องจาก
              การทำงานที่เกิดขึ้นก่อนครบ  ๓  เดือนของการเป็นผู้ประกันตน  ลูกจ้างไปใช้สิทธิรักษาพยาบาล
              โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติดูแลอยู่ได้หรือไม่ เพียงใด?
              	     ๔. ค่าทำศพ จ่ายไม่เท่ากัน กล่าวคือ กองทุนเงินทดแทน  จ่าย ๑๐๐	เท่าของอัตราสูงสุด

              ของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน ส่วนกองทุนประกันสังคมจ่ายค่าทำศพอัตราแน่นอน ๓๐,๐๐๐ บาท ไม่ว่า
              ผู้เสียชีวิตจะมีอายุเท่าไร และจ่ายเงินสมทบระยะเวลานานเพียงใด

                    มูลเหตุการละเมิดสิทธิแรงงานในภาคนอกระบบ
              	     ปัจจัยสำคัญที่เป็นมูลเหตุ การละเมิดสิทธิแรงงานคนทำงานในภาคนอกระบบ มีสาระสำคัญ ดังนี้
                    ๑. กระทรวงแรงงานและรัฐบาลเองมีความวิตกกังวลว่า หากมีกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้รับงาน
              ไปทำที่บ้านแล้วอาจจะเป็นผลลบต่อผู้รับงานไปทำที่บ้านเอง  เช่น  ทำให้การจ้างงานชะงัก  หรือ
              ประชาชนอาจว่างงานเพิ่มขึ้น ประกอบกับสถิติหรือจำนวนผู้รับงานไปทำที่บ้านยังไม่ชัดเจนและมี
              จำนวนไม่มากนักที่จะต้องมีนโยบายหรือกฎหมายเป็นการเฉพาะ จึงเป็นผลให้รัฐบาลขาดการเอาใจ

              ใส่ต่อกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน
                    ในขณะที่ความเป็นจริง กลุ่มผู้รับงานไปทำที่
              บ้านมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ  และคาดกันว่ามี
              จำนวนนับล้านคน  ประการสำคัญผู้รับงานไปทำที่
              บ้านส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง คนชรา เด็กและคนพิการ
              โดยสมาชิกในครัวเรือนได้ช่วยทำงานด้วย  อาศัย
              บ้านหรือโรงเรือนของตนเองเป็นสถานที่ทำงาน เป็น

              ผู้รับภาระในเรื่องค่าไฟฟ้า  ค่าน้ำประปา  ค่าขนส่ง
              และค่าอุปกรณ์การผลิต  และงานที่รับไปทำที่บ้าน
              เป็นงานที่เกี่ยวเนื่องและสนับสนุนงานในระบบอัน


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๕๙





     Master 2 anu .indd   159                                                                     7/28/08   9:08:35 PM
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164