Page 157 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 157
การละเมิดสิทธิแรงงาน
คนทำงานภาคนอกระบบ
อย่างไรก็ตาม การขยายการประกันสังคมเพื่อคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน และแรงงาน
นอกระบบกลุ่มต่าง ๆ ในรัฐบาลที่บริหารประเทศตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ เป็นต้นมาไม่มีความชัดเจน และไม่
คืบหน้าแต่อย่างใด
ข้อสรุปแนวทางการประกันสังคมของเครือข่ายแรงงานนอกระบบ สรุปความได้ดังนี้
(๑) ขอบเขตของสิทธิประโยชน์
เห็นด้วยกับชุดสิทธิประโยชน์ที่กรรมการประกันสังคมเคยมีมติเห็นชอบ ในรัฐบาลชุดก่อน
ยุบสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่
ชุดที่ ๑ ชุดสิทธิประโยชน์ ๔ กรณี คือ
๑. กรณีเจ็บป่วย หรือประสบอันตราย ในวันละ ๒๐๐ บาท ครั้งละไม่เกิน ๑๐ วัน ปีละ
ไม่เกิน ๓๐ วัน และมีสิทธิใช้โครงการประกันสุขภาพเหมือนเดิม
๒. กรณีคลอดบุตร ครั้งละ ๑,๒๐๐ บาท คนละไม่เกิน ๒ ครั้ง
๓. กรณีทุพพลภาพ เดือนละ ๒,๐๐๐ บาทตลอดชีวิต
๔. กรณีตาย ค่าทำศพ ๓๐,๐๐๐ บาท
เงื่อนไข คือ เก็บเงินสมทบเป็นรายปี โดย ผู้ประกันตนจ่ายรายละ ๑,๒๐๐ บาท / ปี และรับ
เงินอุดหนุน ๑,๒๐๐ บาทต่อคน ต่อปี (ต้องมีผู้สมัครใจเข้าร่วมอย่างน้อย ๑ ล้านคน)
ชุดที่ ๒ การออมเพื่อชราภาพ จ่ายเงินเมื่ออายุครบ ๖๐ ปี และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
แบ่งเป็น ๒ กรณี ดังนี้
๑. ได้รับเงินบำเหน็จ คือ จ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว หากส่งเงินสมทบไม่ครบ ๑๕ ปี
๒. เงินบำนาญ คือ เงินช่วยค่าครองชีพรายเดือน ต้องจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า
๑๘๐ เดือน (หรือ ๑๕ ปี)
(๒) อัตราเงินสมทบ และฐานรายได้
มีข้อคิดเห็นว่าถ้าขยายการคุ้มครองเป็นรายกลุ่มอาชีพ ต้องมีการศึกษาอีกนาน เพราะ
แรงงานนอกระบบมีปัญหารายได้ไม่สม่ำเสมอ จะเชื่อถือข้อมูลรายได้แจ้งมาได้อย่างไร บางคนมีการ
เปลี่ยนย้ายงานบ่อย หรืออาจทำหลายงาน มีข้อเสนอว่า
๑. ให้มีการแบ่งการเก็บเงินสมทบ เป็นกลุ่มรายได้ กำหนดรายได้สูงสุด และต่ำสุด โดย
กำหนดช่วงรายได้เป็น ๓ ช่วง เช่น
ช่วงรายได้น้อย ๓,๐๐๐ บาท สมทบ ๑๕๐ บาทต่อเดือน
ช่วงรายได้ปานกลาง ๖,๐๐๐ บาท สมทบ ๓๐๐ บาทต่อเดือน
ช่วงรายได้สูง ๑๐,๐๐๐ บาท สมทบ ๔๕๐ บาทต่อเดือน
แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างกัน ยกเว้นค่าทำศพจะได้เท่ากัน
๒. เก็บเป็นอัตราเปอร์เซ็นต์ของฐานรายได้แต่ละคน เพื่อเป็นการเฉลี่ยสุข เฉลี่ยทุกข์
ระหว่างผู้มีรายได้แตกต่างกันอย่างชัดเจน คนที่มีรายได้สูงจ่ายเงินสมทบมาก คนที่มีรายได้น้อยจ่ายเงิน
สมทบน้อย แต่ได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนกันจึงจะเป็นธรรม
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๕๗
Master 2 anu .indd 157 7/28/08 9:08:19 PM