Page 163 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 163
การละเมิดสิทธิแรงงาน
คนทำงานภาคนอกระบบ
• รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจที่สามารถสร้างความเป็นธรรมในสังคมโดยคำนึงถึงคุณภาพ
ชีวิตของประชาชนและรักษาสภาพแวดล้อมควบคู่กัน กำกับดูแลมิให้มีการผูกขาดตัดตอนทั้งทางตรง
หรือทางอ้อมโดยเอกชน
• รัฐจะต้องไม่แปรรูปรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับสาธารณูปโภค บริการพื้นฐาน หรือเกี่ยวกับความ
มั่นคงของรัฐเป็นของเอกชน และต้องส่งเสริมให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเพื่อบริการ
ประชาชนโดยทั่วถึงและเป็นธรรม
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อกระทรวงแรงงานและรัฐบาล มีสาระสำคัญ ดังนี้
๑. รัฐบาลควรดำเนินการให้เรื่องการจ้างงานเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อจะได้มี เจ้าภาพที่ประกอบ
ด้วยกระทรวงหลักที่เกี่ยวข้อง สามารถกำหนดยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการร่วมกันได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและอย่างบูรณาการ เพื่อให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญและ คุณค่าของแรงงานนอก
ระบบ มีการคุ้มครองดูแลจากรัฐโดยเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นคนทำงานภายใต้รูปแบบหรือสัญญาชนิดใด
ทั้งนี้ เพื่อจะได้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา การว่างงาน การกระจาย
รายได้ และการแก้ไขความยากจน
๒. รัฐบาลควรให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๑๗๗ ว่าด้วยงาน
ที่รับไปทำที่บ้าน พ.ศ. ๒๕๓๙ ปฏิบัติตามข้อแนะ ฉบับที่ ๑๘๔ ว่าด้วยงานที่รับไปทำที่บ้าน ให้
สามารถปฏิบัติได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพของสังคมไทย เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้รับ
งานไปทำที่บ้าน
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๖๓
Master 2 anu .indd 163 7/28/08 9:09:09 PM