Page 161 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 161

การละเมิดสิทธิแรงงาน
                                                                         คนทำงานภาคนอกระบบ






              	     การดำเนินการของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
                    เนื่องจากเรื่องร้องเรียนในประเด็นนี้มีน้อยแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาลเป็นสำคัญ
              คณะอนุกรรมการฯ  จึงได้จัดประชุมสัมมนาเพื่อพิจารณาข้อเสนอเชิงนโยบาย สรุปสาระสำคัญได้
              ดังนี้
              	     (๑) วันที่ ๙ - ๑๐ กันยายน ๒๕๔๙ คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานร่วมกับ  โครงการสตรี
              และเยาวชนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย มูลนิธิเพื่อการ
              พัฒนาแรงงานและอาชีพ (หรือศูนย์ศึกษาและพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน) และเครือข่ายเกษตรกรรม
              ทางเลือก ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “แรงงาน...หวังและจะให้อะไรต่อการปฏิรูปการเมือง” ณ
              โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร

                    การจัดสัมมนามุ่งเน้นให้กลุ่มแรงงาน  ๖  กลุ่มคือ  (๑)  กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน  (๒)  กลุ่ม
              แรงงานในระบบ (๓) กลุ่มแรงงานทำงานบ้าน (๔) กลุ่มแรงงานภาคบริการ (๕) กลุ่มแรงงานภาครัฐ
              และรัฐวิสาหกิจ (๖) กลุ่มแรงงานภาคเกษตร พิจารณาสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจต่อการ
              ปฏิรูปการเมือง และบทบาทของแรงงานต่อการปฏิรูปการเมือง
              	     มีผู้เข้าร่วมสัมมนา ประมาณ ๑๕๐ คน
              	     (๒) วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๙	คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานได้จัดสัมมนา เรื่อง “การปฏิรูป
              สิทธิแรงงานในระบบจ้างเหมา” โดยเน้นระบบการจ้างเหมาในภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชนหรือ

              สถานประกอบการ  และกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน  เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและกฎหมาย
              ณ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
              	     มีผู้เข้าร่วมสัมมนา ประมาณ ๑๐๐ คน
                    ที่ประชุมสัมมนามีข้อคิดเห็นร่วมกันว่า ผู้ที่ทำงานในกระบวนการผลิตทั้งหมดมีศักดิ์และสิทธิที่
              แตกต่างกัน ไม่เท่าเทียมกัน กลุ่มแรงงานนอกระบบและลูกจ้างภาครัฐไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานหรือถูก
              ละเมิดสิทธิมากที่สุด จะต้องร่วมกันปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปรัฐธรรมนูญให้มีการรับรองหรือให้หลัก
              ประกันในเรื่องสิทธิแรงงาน  คนทำงานจะต้องมีสิทธิ  และมีบทบาทจริงจังในการตรวจสอบฝ่ายรัฐ
              นโยบาย กฎหมายหรือมาตรการทางบริหารของรัฐ
                    สำหรับกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะดังนี้

              	     •	ยังมีความแตกต่างในการรับรู้ข้อมูลหรือสถานการณ์ผู้รับงานไปทำที่บ้าน มีผลต่อการจัดทำ
              กฎหมายหรือนโยบายที่สอดคล้อง เช่น ควรเกิดความชัดเจนว่าอะไรบ้างที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของ
              ผู้รับงานไปทำที่บ้าน กฎหมายอาจจะต้องเปลี่ยนรูปแบบเป็นกฎหมายที่คาบเกี่ยวเศรษฐกิจและสังคม
              อาจจะต้องเน้นมาตรการส่งเสริมและพัฒนามากกว่าที่จะเน้นการบังคับหรือลงโทษ
              	     •	จะทำอย่างไรให้แผนงานของรัฐมีความต่อเนื่องทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
              	     •	รัฐบาลจะต้องมีแผนงานหรือมาตรการให้เกิดการจ้างงานที่ต่อเนื่อง มีการประสานความร่วม
              มือของหน่วยงานภาครัฐในเรื่องการส่งเสริมอาชีพ การให้บริการแก่ประชาชนด้านต่าง ๆ การคุ้มครอง

              และการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนหรือความไม่เป็นธรรมควรปรับปรุงระเบียบหรือมาตรการทาง
              บริหารเพื่อให้ประชาชนหรือผู้รับงานไปทำที่บ้านเข้าถึงได้




                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๖๑





     Master 2 anu .indd   161                                                                     7/28/08   9:08:51 PM
   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166