Page 154 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 154
๖
บทที่
• ผู้จ้างงานในงานที่รับไปทำที่บ้าน ผู้รับเหมาช่วง และผู้รับเหมาชั้นต้นต้องร่วมรับผิดในค่าจ้าง
และค่าใช้จ่ายในการทำงาน
• การคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน
• การสร้างหลักประกันด้านสุขภาพอนามัย การคุ้มครองผู้หญิงและเด็ก
• ให้กำหนดมาตรการส่งเสริมและพัฒนา ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารการจ้างงาน ทักษะ
ฝีมือ สินเชื่อหรือเงินทุนหมุนเวียน และการสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน
• ในการบริหารและการบังคับใช้กฎหมาย ให้มีคณะกรรมการระดับชาติโดยผู้รับงานไปทำ
ที่บ้านและภาคประชาสังคมมีส่วนร่วม การส่งเสริมให้กลุ่มผู้รับงานฯหรือองค์กรชุมชนเป็นอาสาสมัคร
เพื่อช่วยเหลือพนักงานตรวจแรงงาน ตลอดจนการ
มีคณะกรรมการไกล่เกลี่ยหรือระงับข้อพิพาท
เชิงสมานฉันท์ในระดับตำบลหรือชุมชน
ในขณะที่กระทรวงแรงงานก็ได้จัดทำร่าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ.
แต่ยังมีสาระสำคัญแตกต่างกับฉบับเครือข่าย
แรงงานนอกระบบในหลักการและสาระสำคัญ
หลายประเด็น ดังนี้
(๑) ไม่คุ้มครองในเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำหรือค่า
จ้างที่เป็นธรรม (๒) ไม่คุ้มครองในเรื่องค่าใช้จ่าย
เกี่ยวกับวัตถุดิบ หรืออุปกรณ์ หรือค่าใช้ในการ
ทำงาน ค่าไฟฟ้าและค่าขนส่ง (๓) ไม่นำหลักความร่วมรับผิดของผู้รับเหมาช่วงไปจนถึงผู้รับเหมาชั้น
ต้นในเงินค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ ดังที่กำหนดไว้ใน
มาตรา ๑๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาใช้บังคับ (๔) ไม่กำหนดมาตรการ
ส่งเสริมพัฒนาให้เป็นสิทธิตามกฎหมาย เพียงแต่กำหนดไว้เป็นอำนาจทางการบริหาร (๕) ยังไม่มีเรื่อง
สิทธิการรวมตัวและระบบแรงงานสัมพันธ์ (๖) คณะกรรมการการรับงานไปทำที่บ้าน และกลไกการ
ตรวจแรงงานและการร้องทุกข์ยังคงยึดหลักเกณฑ์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
ซึ่งยังขาดหลักการการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนหรือภาคประชาชน
อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายฉบับกระทรวงแรงงานได้เพิ่มเติมสาระสำคัญ เรื่อง การคุ้มครอง
ผู้รับงานฯ กรณีประสบอันตราย เจ็บป่วย หรือตาย เนื่องจากการทำงานที่มิใช่การจงใจหรือประมาท
เลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้รับงานฯ ให้มีสิทธิในค่ารักษาพยาบาลและค่าทำศพ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๒) การขยายประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ
กฎหมายประกันสังคมปัจจุบันจำกัดการคุ้มครองแรงงานเฉพาะผู้ที่เป็น “ลูกจ้าง” ตามสัญญา
จ้างแรงงานเท่านั้น ผู้รับงาน และผู้ผลิตที่บ้านจำนวนมาก จึงไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
ประกันสังคม และต้องไปใช้สิทธิรักษาพยาบาลในโครงการหลักประกันสุขภาพของกระทรวง
สาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ ซึ่งไม่ครอบคลุมงานอาชีว
อนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างชัดเจน
๑๕๔ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 154 7/28/08 9:08:04 PM