Page 162 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 162

๖
        บทที่






                    ในการสัมมนาครั้งนี้ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและ
              อาชีพ (โฮมเน็ท ประเทศไทย) ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อประธานอนุกรรมการสิทธิแรงงาน คณะ
              กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มีสาระสำคัญดังนี้
                    (๑) ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการบูรณาการแนวคิดและหลักการร่างกฎหมายเกี่ยวกับผู้รับงาน
              ไปทำที่บ้าน ฉบับกระทรวงแรงงานและฉบับเครือข่ายแรงงานนอกระบบเข้าด้วยกัน และจัดประชาพิจารณ์
              ให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมพิจารณา
                    (๒) ให้กระทรวงแรงงานขยายประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบทั้งหมด โดยเฉพาะผู้รับงานไป
              ทำที่บ้านถือเป็นกลุ่มที่ควรได้รับการคุ้มครองโดยเร่งด่วน ตามหลักการและเหตุผลที่เครือข่ายแรงงาน
              นอกระบบเสนอแนะ

                    (๓) ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกระทรวงสาธารณสุข เร่งดำเนินนโยบาย
              เรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ และการสร้าง
              เสริมสุขภาพความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานนอกระบบ
                    (๔) ให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบูรณา
              การงานส่งเสริมพัฒนาและคุ้มครองแรงงานนอกระบบเข้ากับแผนงาน  และการบริหารขององค์กร
              ปกครองส่วนท้องถิ่น
                    คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้รับเรื่องไว้เพื่อพิจารณาดำเนินการเพื่อให้บังเกิดผลต่อไป

              	     (๓) วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ คณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานได้จัดประชุมเครือข่ายแรงงาน
              ทั้งหมด  เพื่อพิจารณาข้อเสนอในการบรรจุหลักการสิทธิแรงงานและนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐด้าน
              แรงงาน  เนื่องในวาระการจัดทำรัฐธรรมนูญ  ณ  ห้องประชุม  ๕๐๑  สำนักงานคณะกรรมการสิทธิ
              มนุษยชนแห่งชาติ มีผู้เข้าร่วมประชุม ประมาณ ๕๐ คน ที่ประชุมมีข้อเสนอสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
              	     • ผู้ทำงานทุกคนมีสิทธิเสมอกัน ในการได้รับการคุ้มครองจากรัฐอย่างเป็นธรรมและเพียงพอ
              ในด้านการจ้างงาน ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม สุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ประกันสังคม
              และสวัสดิการสังคม การรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม และการมีส่วนร่วมตัดสินใจของผู้ประกอบ
              การที่มีผลกระทบต่อคนทำงาน
              	     • คนทำงานจะต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติในการจ้างงาน ไม่ถูกบังคับใช้แรงงานและมีหลักประกัน

              ในความมั่นคงในอาชีพ
              	     • ให้มีองค์การอิสระที่บริหารงานในลักษณะพหุภาคี  ทำหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาและคุ้มครอง
              ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบครบวงจร
              	     •	คนทำงานมีสิทธิและเสรีภาพในการรวมตัวและเจรจาต่อรองโดยปราศจากการแทรกแซง กลั่น
              แกล้งหรือคุกคามทุกรูปแบบ การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำมิได้
              	     •	รัฐต้องคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ  เด็ก  และแรงงานหญิง  โดยเฉพาะหญิงมีครรภ์  รวมถึง
              แรงงานผู้พิการ ผู้ติดเชื้อ แรงงานนอกระบบ และแรงงานข้ามชาติให้มีการจ้างงานที่เป็นธรรม และ

              ไม่มีการเลือกปฏิบัติ
              	     •	รัฐต้องปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยเสรีภาพใน
              การรวมตัวและการเจรจาต่อรองร่วม


        ๑๖๒  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   162                                                                     7/28/08   9:08:52 PM
   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167