Page 158 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 158

๖
        บทที่
















































              	     (๓) รูปแบบสมัครใจ หรือบังคับ
                    เมื่อพิจารณาถึงความมั่นคงและความอยู่รอดของกองทุนในระยะยาว ต้องมีผู้จ่ายเงินเข้าร่วม
              กองทุนมากพอสมควร กรณีสมัครใจ ได้มีนักคณิตศาสตร์ประกันภัยช่วยคำนวณโดยมีสมมุติฐานว่า
              ต้องมีแรงงานนอกระบบสมัครใจเข้าร่วมกองทุนอย่างน้อย ๑ ล้านคน จึงจะมีความเป็นไปได้ในการ
              บริหารกองทุนฯ  ในอัตราจ่ายสมทบและประโยชน์ทดแทนตามที่กำหนดไว้  นอกจากนี้กองทุนยังมี

              ความเสี่ยงจากหลายปัจจัย คือ การจ่ายเงินสมทบปีต่อปี (ปีละครั้ง) และสิทธิประโยชน์ต้องจูงใจให้
              แรงงานจำนวนมากเข้าร่วมกองทุนฯ อย่างต่อเนื่อง
              	     กรณีประกันแบบบังคับ สอดคล้องกับหลักการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขของผู้มีรายได้แตกต่างกันใน
              สังคม  จะมีโอกาสสร้างความมั่นคงของกองทุน  และสามารถวางแผนการบริหาร  จัดการได้มาก
              ปัญหาอยู่ที่ว่า แรงงานนอกระบบมีความหลากหลายซับซ้อนทั้งในแง่อาชีพ รายได้ ความสามารถใน
              การจ่ายเงินสมทบ เป็นต้น และเป็นเรื่องยากมากในการวางระบบบริหารจัดการ
                    อย่างไรก็ตาม  เนื่องจากสำนักงานประกันสังคมจะนำ  มาตรา  ๔๐  พ.ร.บ.ประกันสังคม

              พ.ศ. ๒๕๓๓ มาปรับในเรื่องสิทธิประโยชน์และเงินสมทบ เพื่อขยายประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ
              ซึ่งเป็นแบบสมัครใจ  สามารถดำเนินการได้โดยเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามความใน
              มาตรา ๔๐


        ๑๕๘  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   158                                                                     7/28/08   9:08:30 PM
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163