Page 160 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 160
๖
บทที่
เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ นับว่าเป็น
งานที่มีคุณค่ายิ่งที่จำเป็นต้องมีนโยบายและกฎหมาย
หรือมาตรการบริหารของรัฐเพื่อคุ้มครองดูแล
๒. ในกระแสโลกาภิวัตน์ที่การผลิตและการ
ค้าขายมีการเชื่อมโยงกันทั่วโลก หากรัฐบาลได้พิจารณา
ถึงผลดีของการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงาน
ระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๑๗๗ ว่าด้วยงานที่รับไปทำ
ที่บ้าน ก็จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศในระยะยาว
เนื่องจากการให้สัตยาบันดังกล่าวจะส่งผลด้านบวก
หลายประการดังนี้
(๑) ให้เกิดการตระหนักในคุณค่าของการ
รับงานมาทำที่บ้าน ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมาไม่มีใครนึกถึง
และไม่ปรากฏในสถิติแรงงาน หากรับรองจะมีผลให้
คนงานกลุ่มนี้รวมอยู่ในตลาดแรงงาน
(๒) ทำให้มีการขยายขอบเขตการคุ้มครอง
แรงงาน ครอบคลุมถึงคนงานที่รับงานไปทำที่บ้าน ซึ่ง
มักจะเป็นกลุ่มที่ยากจนและมีรายได้ต่ำที่สุดในบรรดาคนงานทั้งหลาย และจะสามารถเป็นตัวอย่าง
สำหรับการออกกฎหมายคุ้มครองคนงานนอกระบบประเภทอื่น ๆ
(๓) เป็นการส่งเสริมสถานภาพสตรีและเด็ก เนื่องจากผู้รับงานไปทำที่บ้านส่วนใหญ่เป็นสตรี
และเด็ก เพราะเมื่อกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านมีรายได้และการครองชีพที่ดีขึ้น ก็จะลดการใช้แรงงานเด็ก
ไปโดยปริยาย และเด็กก็จะได้เข้าสู่โรงเรียน
(๔) นายจ้างเองจะได้รับประโยชน์ เพราะเมื่อมีการดูแลด้านสวัสดิการ และค่าจ้างที่เหมาะสมแล้ว
คุณภาพของผลผลิตน่าจะได้มาตรฐานดีขึ้น ทำให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ความสามารถแข่งขัน
ในตลาดโลกจะมีผลต่อการขยายตลาด การเพิ่มการลงทุน และเพิ่มการจ้างงานซึ่งทุกฝ่ายได้รับประโยชน์
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยยังมิได้ให้สัตยาบันอนุสัญญา ฉบับที่ ๑๗๗ ทำให้
การดำเนินการทางนโยบาย การออกกฎหมายหรือการบริหารจัดการเพื่อประโยชน์ในการ
คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านจึงเป็นไปอย่างล่าช้าและไม่ต่อเนื่อง
๓. เกี่ยวกับนโยบายหรือการจัดทำกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านนั้นพบว่า ร่าง
กฎหมายที่ภาคประชาชนร่วมกันจัดทำกับร่างกฎหมายของกระทรวงที่มีหน้าที่รับผิดชอบ มีข้อแตกต่าง
ในทางหลักการหรือมีสาระสำคัญที่แตกต่างกัน จนทำให้เกิดปัญหาข้อขัดแย้งกันตลอดกระบวนการ
ไม่ว่านโยบายหรือกฎหมายที่ริเริ่มโดยหน่วยงานภาครัฐหรือภาคประชาชน ถือเป็นหน้าที่ของรัฐ
ที่จะต้องประสานความร่วมมือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาสถานการณ์ปัญหาและแนวทางในการ
ป้องกันหรือแก้ไขปัญหา หากเห็นพ้องต้องกันว่าจำเป็นต้องมีกฎหมาย ก็ควรร่วมกันพิจารณาแนวทาง
หรือหลักการของกฎหมาย รับฟังข้อคิดเห็นและหาหลักการร่วมกันตั้งแต่ต้น เชื่อว่าการจัดทำกฎหมาย
ในลักษณะดังกล่าวจะเกิดความเหมาะสมหรือสอดคล้อง ลดข้อขัดแย้ง ไม่ล่าช้าหรือสิ้นเปลืองงบประมาณ
๑๖๐ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 160 7/28/08 9:08:50 PM