Page 152 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 152

๖
        บทที่






              เหมาะสมกับแรงงานกลุ่มต่าง ๆ
              	     	 (๔) การสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรแรงงานและการมีสิทธิแสดงความเห็น (Social
              Dialogue)
ประกอบด้วย การกำหนดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดตั้งองค์กรและผู้แทน การส่งเสริม
              บทบาทและการมีส่วนร่วมขององค์กรเหล่านี้ในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง การสนับสนุนการจัดตั้ง
              องค์กรแรงงาน สหภาพแรงงาน องค์กรนายจ้าง รวมทั้งกลุ่มเจรจาต่อรองร่วมกับภาครัฐในรูปแบบต่างๆ ที่
              เหมาะสม
              	        ๓) อนุสัญญาฉบับที่ ๑๗๗
                       องค์การแรงงานระหว่างประเทศได้กำหนดกลไกสำคัญในการขยายการคุ้มครองและยก
              ระดับแรงงานในเศรษฐกิจนอกระบบก่อนที่จะมีมติในปี ๒๕๔๐ เกี่ยวกับวาระงานที่มีคุณค่า กลไก

              ดังกล่าวคือ อนุสัญญาว่าด้วยการรับงานไปทำที่บ้าน ฉบับที่ ๑๗๗ และข้อเสนอแนะ ฉบับที่ ๑๘๔
              ซึ่งประกาศใช้ เมื่อ มิถุนายน ปี ๒๕๓๙ ซึ่งประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้
              	     	 	(๓.๑) ความหมายของผู้รับงานไปทำที่บ้าน
              	     	 	อนุสัญญาฉบับที่  ๑๗๗  ว่าด้วยงานที่รับงานไปทำที่บ้าน  กำหนดความหมายและ
              ขอบเขตของงานที่รับไปทำที่บ้าน สรุปได้ว่า
                       ๑. เป็นการทำงานผลิตหรือ บริการ เพื่อรับค่าตอบแทน
                       ๒. สถานที่ทำงาน คือ บ้านของผู้รับงาน หรือที่อื่นๆ ซึ่งเลือกกันเอง ที่มิใช่สถานที่ทำงาน

              ของนายจ้าง
                       ๓. ไม่คำนึงว่าใคร เป็นผู้จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ หรือสิ่งของที่ใช้ในการทำงาน
                       ๔. ไม่รวมถึงลูกจ้างที่นำเอางานมาทำที่บ้านเป็นครั้งคราว แทนที่จะทำที่โรงงาน หรือสถาน
              ประกอบการของนายจ้าง
                       ๕.ไม่รวมถึงบุคคลที่มีความพร้อมทางเศรษฐกิจ และประกอบอาชีพอิสระตามกฎหมายของ
              แต่ละประเทศ
                       ๖. นายจ้าง หมายถึง บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่ส่งมอบงานที่รับไปทำที่บ้านในการ
              ประกอบธุรกิจของตน ไม่ว่า โดยตรง หรือผ่านคนกลาง และไม่ว่ากฎหมายแห่งชาติจะมีบทบัญญัติให้
              มีคนกลาง หรือไม่ก็ตาม

              
     
 
(๓.๒) ขอบเขตการคุ้มครองสิทธิแรงงานที่รับไปทำที่บ้าน
              	     อนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๗๗ เสนอให้มี
              นโยบายแห่งชาติเกี่ยวกับงานที่รับไปทำที่บ้านที่
              ส่งเสริมการปฏิบัติเท่าเทียมกันระหว่างผู้รับงานไป
              ทำที่บ้านกับผู้ทำงานรับค่าจ้างอื่นๆ เท่าที่จะเป็น
              ไปได้ โดยคำนึงถึงลักษณะพิเศษของงานที่รับไป
              ทำที่บ้าน  และเงื่อนไขที่จะนำมาปรับใช้กับ

              ประเภทงานที่เหมือนกันหรือคล้ายคลึงกันที่ดำเนิน
              การในสถานประกอบการตามความเหมาะสมโดย
              เฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับ


        ๑๕๒  สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน





     Master 2 anu .indd   152                                                                     7/28/08   9:07:41 PM
   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157