Page 151 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 151
การละเมิดสิทธิแรงงาน
คนทำงานภาคนอกระบบ
๓. กรอบแนวคิดทางสากลในการขับเคลื่อนทางด้านนโยบายเพื่อคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน
ผู้รับงานไปทำที่บ้านก็คือผู้ใช้แรงงานหรือคนทำงานที่ควรได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียม
กับลูกจ้างในระบบ แต่เนื่องจากกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานที่บังคับใช้นั้นมีผลเฉพาะคนทำงานที่มีฐานะ
เป็นลูกจ้างและนายจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานเท่านั้น เมื่อผู้จ้างงานอาศัยสัญญารูปแบบอื่น ๆ นอก
เหนือจากสัญญาจ้างแรงงาน เช่น สัญญาจ้างทำของ สัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญาซื้อขาย หรือ
สัญญาพิเศษอื่น ๆ คนทำงานดังกล่าวจึงไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายที่มีอยู่
๑) สิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน
สิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานซึ่งที่ประชุมใหญ่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ
- ILO) มีมติรับรองเมื่อปี ๒๕๔๑ มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานหลัก
ของ ILO รวม ๔ เรื่อง คือ (๑) การขจัดแรงงานบังคับ (๒) เสรีภาพในการสมาคม และการเจรจา
ต่อรองร่วม (๓) การห้ามเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ และ(๔) การคุ้มครองแรงงานเด็ก โดย
กำหนดให้เป็นความรับผิดชอบของประเทศสมาชิก ILO ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ด้วย ดำเนินการ
คุ้มครองแรงงานตามสิทธิขั้นพื้นฐานนี้
๒) หลักการงานที่มีคุณค่า (Decent Work)
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ให้ความสนใจกับภาคนอกระบบมาตั้งแต่ปี พ.ศ.
๒๕๑๕ เพราะเห็นว่าเป็นกิจกรรมของคนจนที่ทำงานหนัก แต่มักไม่ได้รับความสนใจและดูแลจัดการ
จากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งต่อมาที่ประชุมใหญ่สมัยที่ ๙๐ ปี ๒๕๔๐ ขององค์การแรงงานระหว่าง
ประเทศได้มีมติรับรองวาระงานที่มีคุณค่า (Decent Work Agenda) ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักคือการขยาย
การคุ้มครองทางสังคม โดยเฉพาะในเรื่องงานที่ปลอดภัยและมั่นคงให้ครอบคลุมทั้งส่วนของภาคนอก
ระบบ ชุมชน และองค์กรเอกชนด้วย
ในมุมมองของ ILO งานที่มีคุณค่า ต้องไม่ใช่งานที่ทำเพียงเพื่อยังชีพไปวัน ๆ หรืองานอะไร
ก็ได้ แต่ต้องเป็นงานที่เอื้อให้พ้นจากสภาพความยากจนและต้องมีสภาพการทำงานที่ดีด้วย โดย
แรงงานจะต้องได้รับการคุ้มครองและปกป้องให้ได้รับสิทธิพื้นฐาน เช่น สิทธิมนุษยชน สิทธิพื้นฐานใน
การทำงาน สิทธิของเด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ที่จะได้รับการศึกษาและการพัฒนาศักยภาพด้านต่าง ๆ
อย่างเหมาะสม
องค์ประกอบของงานที่มีคุณค่า
(๑) หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน ( Fundamental Principles and Rights
at work) ประกอบด้วย เสรีภาพในการรวมตัวและสิทธิในการเจรจาต่อรองร่วม การขจัดการใช้
แรงงานบังคับ การขจัดการใช้แรงงานเด็ก และการขจัดการเลือกปฏิบัติ ฯ
(๒) การสร้างงานที่มีคุณภาพและการส่งเสริมศักยภาพที่จะได้รับการจ้างงาน (Productive
Employment) ประกอบด้วย การส่งเสริมการมีงานทำและการเพิ่มผลิตภาพโดยการลงทุนด้านความ
รู้และทักษะ การสร้างงานที่มีคุณภาพโดยการพัฒนาสถานประกอบการ และแก้ไขอุปสรรคต่างๆ เช่น
การเข้าถึงเครดิตการตลาด การฝึกอบรม ฯลฯ
(๓) การคุ้มครองทางสังคม ( Social Protection) ประกอบด้วย ความปลอดภัยในการ
ทำงานและอาชีวอนามัย การขยายและส่งเสริมการประกันทางสังคมในรูปแบบที่หลากหลายและ
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๕๑
Master 2 anu .indd 151 7/28/08 9:07:32 PM