Page 149 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 149
การละเมิดสิทธิแรงงานไทย
ไปทำงานต่างประเทศ
สถานการณ์ปัญหาและรูปแบบการละเมิด
๑. สภาพทั่วไปของผู้รับงานไปทำที่บ้าน ผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติใน
ปี ๒๕๔๘ มีข้อมูลที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
(๑) จำนวนครัวเรือนและผู้รับงานไปทำที่บ้าน มีจำนวน ๓๔๘,๙๖๔ ครัวเรือน ผู้รับงาน
ไปทำที่บ้าน (อายุ ๑๕ ปีขึ้นไป) จำนวน ๕๔๙,๘๐๓ คน (ตัวเลขนี้อาจไม่สะท้อนความเป็นจริง
ขึ้นอยู่กับการให้ความหมายของผู้รับงานไปทำที่บ้านของแต่ละหน่วยงานที่ทำการสำรวจ ซึ่งอาจไม่รวม
ผู้ช่วยงานในครัวเรือนที่ไม่ได้รับค่าจ้างนอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่ทำการสำรวจ หากไม่มีงาน
ก็จะไม่นับสถิติ)
(๒) สถานภาพของผู้รับงานฯ เป็นหญิงร้อยละ ๗๖.๓ เป็นชายร้อยละ ๒๓.๗ ส่วนใหญ่
สมรสแล้ว ส่วนใหญ่จบการศึกษาไม่เกินระดับประถมศึกษา
(๓) ประเภทของงานที่รับไปทำที่บ้าน จำนวนมากที่สุดคือสาขาการผลิต มีจำนวน
๔๖๑,๗๕๔ คนหรือร้อยละ ๘๔ งานที่รับไปทำที่บ้านจึงมีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
โดยรวมของประเทศในรอบปี และมีจำนวนมากตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน
(๔) สภาพการจ้างหรือการทำงาน ผู้จ้างงานเป็นผู้กำหนดค่าจ้างหรือค่าตอบแทนร้อยละ
๘๒.๔ ผู้รับงานกำหนดเองเพียงร้อยละ ๙.๕ มีชั่วโมงการทำงานโดยเฉลี่ยระหว่าง ๕ ชั่วโมงถึง ๑๑
ชั่วโมง แต่ผู้รับงาน ฯ ที่เป็นแม่บ้าน ต้องทำงานผลิตด้วยและงานบ้านด้วย มักจะใช้เวลาที่ควรจะเป็น
เวลาพักผ่อนมาทำงานที่รับไปทำที่บ้าน มีรายได้น้อย คือต่ำกว่า ๓๐,๐๐๑ บาท ต่อปี (เฉลี่ยเดือนละ
๒,๕๐๐ บาท)
แม้ว่ารัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการรวมกลุ่มของผู้รับงาน ฯ แต่การรวมกลุ่มยังมีน้อยมาก
มีเพียงร้อยละ ๗.๕
ปัญหาที่ผู้รับงานฯเผชิญอยู่ คือ ไม่ปลอดภัยในการทำงาน มีปัญหาอาชีวอนามัยและ
สิ่งแวดล้อมในการทำงาน ทั้งผู้รับงาน ฯ และสมาชิกในครัวเรือนได้รับค่าตอบแทนต่ำเกินไปและล่าช้า
และปัญหางานไม่ต่อเนื่อง
(๕) ความต้องการการช่วยเหลือ ต้องการมากที่สุดคือ การหางานให้ทำอย่างต่อเนื่อง
การคุ้มครองเรื่องค่าตอบแทนและแหล่งเงินทุน
นอกจากนี้ ยังมีความต้องการในเรื่องการสนับสนุนการจัดตั้งกลุ่มผู้รับงานฯ การฝึกอบรม
ทักษะฝีมือ การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน
ส่วนการศึกษาของมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ หรือโฮมเน็ท ประเทศไทย และ
เครือข่ายแรงงานนอกระบบ พบว่างานที่รับไปทำที่บ้านเกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรมและหัตถกรรมที่
สำคัญหลายประเภท ได้แก่ การแปรรูปอาหาร สิ่งทอ แปรรูปไม้และเครื่องจักสาน ผลิตภัณฑ์กระดาษ
และดอกไม้ประดิษฐ์ เครื่องหนังและพลาสติก ผลิตภัณฑ์อิเลคทรอนิคส์ อัญมณี เป็นต้น
แรงงานนอกระบบโดยเฉพาะกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน มีสภาพการจ้างและการทำงานที่ไม่ดี
กล่าวคือ ชั่วโมงการทำงานยาวนานแต่ได้ค่าแรงต่ำ สุขภาพทรุดโทรม สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่ดี
มีความเสี่ยงทั้งในเรื่องเสียงดัง แสงสว่างไม่เพียงพอ มีฝุ่นละอองมาก และได้รับสารเคมี ขาดการรวม
และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๔๙
Master 2 anu .indd 149 7/28/08 9:07:13 PM