Page 145 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 145

การละเมิดสิทธิแรงงาน
                                                                                 คนทำงานภาครัฐ






              	     กรณีที่  ๒)	 การจัดสัมมนาเพื่อระดมความเห็นและจัดทำข้อเสนอต่อร่างรัฐธรรมนูญ
              (ฉบับ พ.ศ.๒๕๕๐)

              	     ความเห็นของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน
                    ต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนคนทำงานภาครัฐ

                    จากการตรวจสอบเรื่องร้องเรียน การประชุมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายภาคประชา
              สังคมด้านแรงงาน  ตลอดจนข้อคิดเห็นจากการประชุมสัมมนาที่จัดโดยคณะอนุกรรมการ  ฯ
              คณะอนุกรรมการ ฯ มีความเห็นต่อประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนคนทำงานภาครัฐ ดังนี้


              	     ส่วนที่ ๑ การละเมิดสิทธิคนทำงานในหน่วยงานราชการ และหน่วยงานของรัฐ ประเด็น
              ที่มีการละเมิดสิทธิแรงงานมากที่สุดก็คือ การจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม กล่าวคือ มีการจ้างงานแบบปีต่อ
              ปี ในการจ้างงานกับลูกจ้างจากงบประมาณ ลูกจ้างจากงบรายได้ และพนักงานของรัฐ ซึ่งการจ้าง
              งานรูปแบบนี้ได้ก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในการทำงานและสวัสดิการที่ต่ำกว่ามาตรฐานการคุ้มครอง
              แรงงาน ที่สำคัญคนทำงานในหน่วยงานราชการทุกประเภทไม่สามารถรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน
              และสามารถเจรจาต่อรองกับผู้บังคับบัญชาเพื่อให้มีการปรับปรุงสภาพการทำงานให้มีชีวิตการทำงาน

              ที่ดีขึ้นได้

              	     ส่วนที่ ๒ การละเมิดสิทธิคนทำงานในรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ประเด็นที่มีการ
              ละเมิดสิทธิแรงงานมากที่สุด  คือการยุบเลิกกิจการและการดำเนินการเพื่อเสนอกฎหมายให้มีการ
              แปลงสภาพของรัฐวิสาหกิจเป็นองค์การมหาชน ทำให้รัฐวิสาหกิจนั้นไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายด้าน
              แรงงานตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ทั้งนี้เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรตาม
              นโยบายของกระทรวงการคลังที่อ้างอิงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ ใน
              เรื่องการจ้างเหมางานบริการ การจ้างในรูปแบบดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่มั่นคงในการทำงานของ
              ลูกจ้างเหล่านั้น


              	     มูลเหตุการละเมิด
                    ๑) เกิดจากนโยบายการจ้างงานของรัฐ ที่ละเลยต่อลูกจ้างจำนวนมาก ทำให้รัฐเป็นนายจ้าง
              รายใหญ่ที่ทำถูกกฎหมาย แต่เป็นการละเมิดสิทธิและไม่เป็นธรรมต่อคนทำงานภาครัฐ และลูกจ้าง
              รัฐวิสาหกิจ
                    ๒) เกิดจากนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่มีผลกำไรสูงไปเป็นของเอกชน ขณะที่มีการละเลย
              ไม่กำกับดูแลและไม่ให้การสนับสนุนกิจการของรัฐวิสาหกิจที่ประสบภาวะไม่มีงานและขาดทุนมา

              ยาวนาน เพื่อใช้เป็นข้ออ้างในการยุบเลิกกิจการ
                    ๓) นอกจากนี้การอ้างภาวะขาดทุน ทำให้ไม่มีระบบการจัดการที่ดูแลสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐาน
              ของลูกจ้างและคนทำงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจที่ขาดทุน


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๔๕





     Master 2 anu .indd   145                                                                     7/28/08   9:05:49 PM
   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149   150