Page 146 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 146
๕
บทที่
๔) เกิดจากการใช้ระเบียบ ข้อบังคับ และ กฎหมาย รวมถึงช่องโหว่ของกระบวนการยุติธรรม
ของผู้บังคับบัญชา ที่เลือกปฏิบัติและไม่เป็นธรรม
การละเมิดสิทธิของคนทำงานภาครัฐทั้ง ๒ ส่วนดังกล่าวล้วนเกิดจากนโยบายของรัฐในเรื่อง
การจ้างงานที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายภาครัฐลง และเพิ่มบทบาทของภาคเอกชนให้เข้ามาดำเนินการแทน
นโยบายดังกล่าวได้ส่งผลร้ายแรงก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชนต่อคนรุ่นใหม่
ดังนั้น คณะอนุกรรมการ ฯ จึงมีข้อเสนอการแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายต่อรัฐบาล มีสาระสำคัญ ดังนี้
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
๑. การจ้างเหมาแรงงานในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลต้องคำนึงถึงหลักการการ
คุ้มครองสิทธิแรงงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ โดยงานที่มีคุณค่าอย่าง
เดียวกันจะต้องได้รับการปฏิบัติในการจ้างงานที่เท่าเทียมกัน หรือไม่เกิดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็น
ธรรม และต้องมีหลักประกันความมั่นคงในการทำงานของคนทำงานในระยะยาวด้วย
๒. ให้รัฐบาลยุติการดำเนินการเพื่อแปรรูปรัฐวิสาหกิจไปเป็นของเอกชน รวมทั้งการให้เอกชน
มาร่วมลงทุนในรัฐวิสาหกิจในรูปแบบต่าง ๆ หากจำเป็นต้องให้เอกชนมาร่วมทุนหรือลงทุนกับ
รัฐวิสาหกิจ รัฐบาลต้องกำกับดูแลเพื่อมิให้รัฐต้องเสียประโยชน์ และต้องควบคุมราคาเพื่อมิให้
ประชาชนต้องรับภาระเกินความจำเป็นต่อการครองชีพในปัจจุบัน
๓. ในกรณีที่จะมีการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีผลกระทบต่อสิทธิและความมั่นคงในการ
ทำงานของพนักงาน จะต้องมีการแจ้งข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง มีหลักเกณฑ์ที่โปร่งใสเป็นธรรม โดยยึด
หลักธรรมาภิบาล และต้องให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการจนสิ้นสุด
ตลอดจนต้องคำนึงถึงหลักประกันเรื่องสิทธิและประโยชน์ของพนักงานเป็นสำคัญ
๔. รัฐบาลต้องให้ความสำคัญต่อการกำกับดูแลสภาพการจ้างของคนทำงานในรัฐวิสาหกิจโดย
เสมอภาค ไม่มีการเลือกปฏิบัติในระหว่างรัฐวิสาหกิจด้วยกัน และหากรัฐจำเป็นต้องแปรสภาพ
รัฐวิสาหกิจ ก็ควรออกกฎหมายหรือกำหนดกฎเกณฑ์ให้ชัดเจน และดำเนินการตามกฎหมายหรือ
กฏเกณฑ์ดังกล่าวอย่างเคร่งครัด
๕. รัฐบาลต้องกำหนดค่าชดเชยพิเศษนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่าง
เหมาะสม หากต้องเลิกจ้างคนทำงานในรัฐวิสาหกิจเพราะผลจากการแปรสภาพ โดยคำนึงถึงภาวะการ
ครองชีพและโอกาสการมีงานทำใหม่เป็นสำคัญ เพื่อให้พนักงานรัฐวิสาหกิจที่ถูกเลิกจ้างจากกรณีดังกล่าว
รู้สึกถึงความคุ้มค่าต่อการทำงานให้กับรัฐวิสาหกิจที่ผ่านมา และมีขวัญกำลังใจในการดำเนินชีวิตต่อไป
๖. รัฐบาลต้องรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘
เพื่อเป็นหลักประกันการรวมตัว การเจรจาต่อรองของคนทำงานภาครัฐทุกประเภท
๗. ให้รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยแรงงานทุกฉบับ และแก้ไขกฎหมาย
เกี่ยวกับราชการและหน่วยงานของรัฐรูปแบบต่างๆ ให้คุ้มครองและครอบคลุมถึงคนทำงานภาครัฐ
ทุกประเภท และให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ รวมทั้งกติกา
ระหว่างประเทศ และอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
๑๔๖ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 146 7/28/08 9:06:08 PM