Page 144 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 144
๕
บทที่
ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของลูกจ้างภาครัฐ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
๑). สภาพการจ้างของลูกจ้างภาครัฐ ค่าจ้างน้อยและสวัสดิการค่อนข้างต่ำ ไม่ได้รับการ
คุ้มครองและไม่อยู่ในบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชบัญญัติ
แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ บางกลุ่ม
ไม่ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ และ พระราชบัญญัติเงินทดแทน
พ.ศ. ๒๕๓๗
ลูกจ้างเหล่านี้ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จบำนาญ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการหลัง
ออกจากงาน ไม่มีสิทธิได้รับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ส่งผลให้คนทำงานดังกล่าวไม่มีความมั่นคงใน
การทำงาน ขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน ในขณะที่มีภาระงานค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับรายได้
และสวัสดิการที่ได้รับ
๒). สัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรม เช่น จ้างงานไม่ตรงตามวุฒิการศึกษา ค่าจ้างไม่เป็นธรรม
แม้กระทรวงการคลังจะมอบหมายให้โรงพยาบาลดำเนินการจัดเก็บรายได้เองโดยไม่ต้องนำเงินส่ง
กระทรวงการคลัง และให้โรงพยาบาลนำรายได้ไปดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ
ด้านสาธารณสุขกับประชาชน แต่ปรากฏว่าการจัดสรร
รายได้ไม่ได้ก่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อลูกจ้าง ค่าจ้าง
และสวัสดิการของลูกจ้างยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า
มาตรฐาน ไม่มีขวัญกำลังใจในการทำงาน ไม่มีความ
ปลอดภัยในการทำงานเนื่องจากต้องทำงานในระบบ
กะโดยเฉพาะกะกลางคืน
๓). ไม่มีสิทธิจัดตั้งและเข้าร่วมเป็นสมาชิก
ของสหภาพแรงงาน
๔). สำหรับกลุ่มลูกจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจ
มีพนักงานลาออกตามโครงการเกษียณก่อนอายุ
จำนวนมาก ไม่มีการรับพนักงานเพิ่ม ทำให้พนักงานที่ทำงานอยู่มีภาระงานเพิ่มขึ้น ส่วนการจ้างงานำนวนมาก ไม่มีการรับพนักงานเพิ่ม ทำให้พนักงานที่ทำงานอยู่มีภาระงานเพิ่มขึ้น ส่วนการจ้างงาน
จ
ใหม่เปลี่ยนเป็นการจ้างเหมาช่วงหรือการจ้างเหมาค่าแรง ทำให้ลูกจ้างดังกล่าวได้รับค่าจ้างต่ำและ
ไม่มีสวัสดิการใด ๆ
๕. มีข้อเสนอว่า ควรมีการจัดตั้งเครือข่ายสหภาพแรงงานคนทำงานภาครัฐในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ครั้งที่ ๖ วันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๐ ที่ ห้องประชุม ๑๐๑ สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษย
ชนแห่งชาติ มีการจัดสัมมนาร่วมกันระหว่างหลายฝ่าย เพื่อเป็นการนำเสนอความเห็นและอภิปราย
แนวคิดในการดำเนินการจัดตั้งสหภาพแรงงานของข้าราชการและลูกจ้างของรัฐ ตามแนวทาง
ที่กำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๖๔ ที่ประชุมมีความเห็น
ร่วมกันว่า ควรที่จะมีการรวมกลุ่ม แต่อาจไม่จำเป็นต้องในรูปสหภาพแรงงานก็ได้ แต่ต้องเกิดขึ้น
บนพื้นฐานเพื่อสิทธิประโยชน์ของคนทำงานภาครัฐ โดยเฉพาะการดำเนินงานเพื่อคนทำงานภาครัฐ
กลุ่มที่เสียเปรียบ และไม่ได้รับความเป็นธรรม
๑๔๔ สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงาน
Master 2 anu .indd 144 7/28/08 9:05:47 PM