Page 147 - สถานการณ์การละเมิดสิทธิแรงงานและบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงานในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)
P. 147

บทที่ ๖
































                                                  การละเมิดสิทธิแรงงาน

                                               คนทำงานภาคนอกระบบ



                นื่องจากกรอบกฎหมายด้านแรงงานของไทยให้ความคุ้มครองแรงงานแก่คนทำงานที่มีสถานภาพ
              เตามสัญญาจ้างแรงงาน(นายจ้างและลูกจ้าง) เท่านั้น ทำให้คนทำงานในหลายภาคส่วนซึ่งเป็นกำลัง

              แรงงานส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
                    ดังนั้น ในกระแสโลกาภิวัตน์และยุคสมัยที่ธุรกิจมีการปรับกลยุทธ์ในการจ้างงานพบว่ารูปแบบ
              การจ้างงานเปลี่ยนแปลงไปมาก  ความสัมพันธ์ในการจ้างงานหรือการทำงานจึงปรากฏในรูปของ
              สัญญาชนิดต่าง ๆ ที่พบมากคือ สัญญาจ้างทำของ สัญญาซื้อขาย หรือสัญญาจะซื้อจะขาย หรือ
              สัญญาทางแพ่งชนิดต่าง ๆ ทำให้คนทำงานภายใต้สัญญาเหล่านี้ไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิแรงงาน
              ทั้งภาครัฐ และเอกชน
              	     อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแรงงานนอกระบบ
              ในประเทศไทยมีจำนวนมากถึง  ๒๓  ล้านคน
              ประกอบอาชีพที่หลากหลาย ทั้งในภาคเกษตรกรรม

              ภาคอุตสาหกรรม ภาคพาณิชยกรรม และภาคบริการ
              อยู่ภายใต้สัญญาหรือการจ้างงานที่หลากหลาย
              รูปแบบ  มีทั้งที่พึ่งพาตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ
              เช่น ผู้ประกอบอาชีพอิสระหรือผู้ประกอบวิชาชีพ
              ที่มีกฎหมายควบคุมรับรอง (ทนายความ นักบัญชี
              วิศวกร เป็นต้น) และไม่อาจพึ่งพาตนเองได้ในทาง
              เศรษฐกิจ  ดังตัวอย่างที่สำนักงานคณะกรรมการ

              พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  (สศช.)
              จำแนกไว้ มีดังนี้


                                                                    และบทเรียนหกปีของคณะอนุกรรมการสิทธิแรงงาน ๑๔๗





     Master 2 anu .indd   147                                                                     7/28/08   9:06:39 PM
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152