Page 38 - มาตรฐานและการปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ : คู่มือสิทธิมนุษยชน ฉบับขยายความ สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
P. 38
• บังคับใช้ระเบียบอย่างเคร่งครัดในการควบคุม การเก็บรักษา รวมทั้งการแจกจ่ายอาวุธและเครื่องกระสุน
• สุ่มตรวจสถานที่คุมขัง สถานีตำรวจ และสถานีย่อย เป็นระยะโดยไม่แจ้งล่วงหน้า รวมถึงการตรวจสอบ
อาวุธและกระสุนที่ตำรวจพกพาด้วย เพื่อให้แน่ใจว่า ได้ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของทาง
ราชการ
• สร้างสัมพันธภาพความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ ผู้พิพากษา และอัยการ
สถานพยาบาล หน่วยงานบริการสังคม บริการเหตุฉุกเฉิน องค์กรสื่อ และชุมชนต่างๆ
• พัฒนาหน่วยงานชำนาญการพิเศษ เพื่อสร้างเจ้าหน้าที่ตำรวจมืออาชีพที่ให้การเอาใจใส่ต่อเด็กและเยาวชน
เหยื่อ สถานการณ์ฝูงชน ทัณฑสถานหญิง การควบคุมตามแนวชายแดน และอื่นๆ
การรักษาความสงบเรียบร้อยในชุมชน
การปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน
• สร้างความสัมพันธ์เชิงหุ้นส่วนระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับสมาชิกของชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
• นำนโยบายและแผนปฏิบัติการตำรวจชุมชนมาใช้
• สรรหาบุคลากรจากทุกภาคส่วนในชุมชน
• ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้สามารถรับมือกับความแตกต่างหลากหลาย
• จัดตั้งโครงการเข้าถึงชุมชนและข้อมูลข่าวสารสาธารณะ
• ประสานงานเป็นประจำกับทุกๆ กลุ่มในชุมชน
• สร้างความสนิทสนมกับชุมชนผ่านกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย
• จัดเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำชุมชนเป็นการถาวร
• ยกระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมด้านการปฏิบัติหน้าที่ตำรวจ และโครงการความปลอดภัย
สาธารณะที่ยึดถือชุมชนเป็นหลัก
• ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการชี้ปัญหาและข้อห่วงใยของชุมชนนั้นๆ เอง
• ใช้แนวทางแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่แปลกใหม่ เพื่อพัฒนาการตอบสนอง
ต่อลักษณะปัญหาเฉพาะในชุมชน
• ประสานนโยบาย ยุทธศาสตร์ และกิจกรรมต่างๆ กับหน่วยงานอื่นของรัฐ และกับองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ
การป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ
มาตรฐานสิทธิมนุษยชน
• เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องเคารพและปกป้องคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ทั้งต้องดำรงรักษา
และสนับสนุนส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของบุคคลทั้งปวง
• หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายจะต้องรับผิดชอบต่อชุมชนเป็นส่วนรวม
36