Page 7 - ประมวลความเห็นทางกฎหมาย ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2559 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2560
P. 7
๕
เห็นวา การฟองคดีตอศาลหรือองคคณะ (Tribunal) ใดๆ ที่ทําหนาที่วินิจฉัยตัดสินคดีขอพิพาทตาม
บทกฎหมายบานเมือง อันเปนกระบวนการตั้งตนแหงการอํานวยความยุติธรรมซึ่งเปนภารกิจพื้นฐาน
แหงรัฐที่พึงจะตองจัดใหบุคคลโดยเสมอกัน กลาวคือบุคคลทั้งหลายไมจํากัดวาจะตองเปนพลเมืองแหงรัฐ
(citizen) ที่มีอํานาจอธิปไตยเหนือดินแดนที่มีขอพิพาทหรือไมลวนมีสิทธิขั้นพื้นฐาน (fundamental
rights) ที่จะนําขอพิพาทหรือความเสียหายที่ตนไดรับไปรองขอทางเยียวยาจากศาลเนื่องจากการถูกโตแยง
สิทธินั้น ทั้งในกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International
Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) ขอ ๑๔ ก็ไดรับรองสิทธิดังกลาววาบุคคลทั้งปวง
ยอมมีสิทธิไดรับการพิจารณาอยางเปดเผยและเปนธรรมอันครอบคลุมไปถึงสิทธิที่จะเขาถึงกระบวนการ
ยุติธรรมหรือการนําคดีมาสูศาล ซึ่งรัฐมีภาระที่จะตองรับประกันวาบุคคลยอมมีสิทธิเชนวานั้นได
4
ในทุกกรณีโดยไมจํากัดสถานะของบุคคล และสิทธิดังกลาวยังไดรับการบัญญัติไวในรัฐธรรมนูญ
แหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๔๐ (๑) ที่วา บุคคลยอมมีสิทธิเขาถึงกระบวนการ
ยุติธรรมไดโดยงาย สะดวก รวดเร็วและทั่วถึง ที่รัฐพึงจะตองใหการรับประกันวาบุคคลไมวาจะอยูใน
สถานะใดๆ หรือสถานการณใดก็มีสิทธิที่จะเขาถึงกระบวนการยุติธรรมไดโดยสะดวก การกําหนดเงื่อนไข
และหลักเกณฑในกฎหมายอันอาจสงผลใหเกิดอุปสรรคตอการเขาถึงกระบวนการยุติธรรมเปนการ
ขัดหรือแยงตอรัฐธรรมนูญและกติการะหวางประเทศวาดวยสิทธิมนุษยชนที่ไทยเปนภาคี ซึ่งหากพิจารณา
จากถอยคําที่วา “ผูเสียหายที่ศาลไดมีคําพิพากษาใหจําคุกและมิไดอยูในระหวางการควบคุม” นั้นก็อาจ
ตีความไดวาผลแหงบทบัญญัติดังกลาวจะสงผลใหบุคคลสองประเภทจําเปนจะตองมาปรากฏตัวตอศาล
ดวยตนเอง คือ ผูเสียหายซึ่งอยูระหวางการหลบหนีการจับกุมโดยเจาหนาที่ และผูเสียหายที่ถูกปลอยตัว
ชั่วคราวในคดีอื่น หากพิจารณาตอไปจะเห็นไดวาในระบบกฎหมายของไทยที่กําหนดใหผูเสียหายมีสิทธิ
ฟองคดีอาญาดวยตนเองนั้นปรากฏวาจะตองเปนผูเสียหายโดยนิตินัย นั่นคือไมมีสวนรวมในการกระทํา
ความผิดซึ่งศาลมีอํานาจในการพิจารณายกฟองไดอยูแลว แตสําหรับในกรณีที่ผูเสียหายกระทําความผิด
ในคดีอื่น และประสงคจะใชสิทธิฟองคดีอาญาตอศาลนั้น จะดวยเหตุผลเรื่องความไมสะดวก ดานชื่อเสียง
ดานความปลอดภัยของตนเอง หรืออื่นใดก็ลวนเปนเหตุผลที่รัฐไมอาจนําเอาวัตถุประสงคในการมุง
ปราบปรามผูกระทําความผิดมาเปนเงื่อนไขวาปจเจกชนจะตองสละเหตุผลสวนตัวนั้นเสียกอนจึงจะมีสิทธิ
ฟองรองคดีตอศาลเพื่อเยียวยาความเสียหายแหงตนได
ประเด็นที่สอง กรณีที่บัญญัติวาผูเสียหายอาจมอบอํานาจใหบุคคลยื่นฟองคดีตอศาล
แทนตนไดเวนแตจะเปนการใชสิทธิโดยไมสุจริต และทําใหจําเลยตองรับภาระเกินสมควรตามมาตรา ๑๕๗
(๒) และ (๓) ที่แกไขเพิ่มเติมโดยมาตรา ๓ แหงรางพระราชบัญญัติดังกลาวนั้น เห็นวา การใชถอยคํา
ดังกลาวเปนการใชถอยคําที่มีความหมายกวางขวาง ซึ่งไมสอดคลองกับหลักกฎหมายที่วา การจํากัดสิทธิ
ของบุคคลนั้นจะตองบัญญัติไวในกฎหมายโดยชัดแจง โดยเฉพาะในเรื่องการใชสิทธิโดยไมสุจริตนั้น
เปนถอยคําที่มีความหมายกวางขวางและแมอาจพิจารณาเจตนาของผูรางวาตองการจะปองกันการกลั่นแกลง
ฟองคดีกันเปนความอาญาอันเปนเจตนาหรือความสํานึกลวงรูวาการกระทําของตนรังแตจะสรางความเสียหาย
ใหแกผูอื่น อันเปนสวนหนึ่งของหลักสุจริตในทางอัตวิสัยก็ตาม แตการพิสูจนความสุจริตของคูความทั้งสอง
ฝายยอมเปนหนาที่ของศาลที่จะตองปรากฏขึ้นในชั้นพิจารณาอันไดมาจากการรับฟงขอเท็จจริงแหงคดี
4 Ninetieth session (2007) General Comment No. 32: Right to equality before courts and tribunals and to a fair trial