Page 195 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 195

สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ



               (2) การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์พื้นที่


                    การวิเคราะห์ข้อกำาหนดผังเมืองรวมในหลายพื้นที่ซึ่งมีการให้สัมปทานในกิจการที่มีผลกระทบต่อ
            พื้นที่ เช่น สัมปทานพลังงาน การให้อาชญาบัตรเหมืองแร่ และประทานบัตรเหมืองแร่ และสัมปทานกิจการ

            โทรคมนาคม ศึกษาจากกรณีผังระดับนโยบายภาคตะวันออกเฉียงเหนือและผังเมืองรวมจังหวัดในภาค

            ตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทำาเหมืองแร่ในจังหวัดเลย จังหวัดอุดรธานี และจังหวัด
            หนองบัวลำาภู และข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการขุดเจาะสำารวจปิโตรเลียม ในจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดกาฬสินธุ์


                    การวิเคราะห์พบว่า สาระสำาคัญของผังภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นผังระดับนโยบาย ได้กำาหนด

            ให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแหล่งผลผลิตการเกษตรที่ใช้เลี้ยงประชากรในประเทศ มีการกำาหนดพื้นที่
            สงวนและอนุรักษ์ พื้นที่คุ้มครองสภาพแวดล้อม พื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่เมืองและอุตสาหกรรม โดย

            การพัฒนาอุตสาหกรรมจะเน้นอุตสาหกรรมการเกษตรที่สอดคล้องกับฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

            และในส่วนการเกษตรนั้น พบว่าในจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดกาฬสินธุ์ที่มีข้อร้องเรียนเรื่องการขุดเจาะสำารวจ
            ปิโตรเลียมนั้น เป็นพื้นที่ที่ได้รับการกำาหนดเป็นพื้นที่เกษตรกรรมปลูกข้าว มันสำาปะหลังและยางพารา

            และพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรต่อเนื่องกับผลผลิตการเกษตรดังกล่าว ส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นพื้นที่

            เกษตรกรรมที่เน้นในเรื่องพืชไร่ มันสำาปะหลัง อ้อย และเป็นพื้นที่เกษตรอุตสาหกรรม สำาหรับจังหวัดอุดรธานี
            จังหวัดเลยนั้นในผังนโยบายการใช้ที่ดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กำาหนดไว้เป็นพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม

            พื้นที่สงวนและอนุรักษ์ป่าไม้ เป็นพื้นที่มีศักยภาพทางการเกษตร การท่องเที่ยว และเป็นแหล่งโบราณคดี

            ที่สำาคัญ

                    อย่างไรก็ตาม ในผังภาคตะวันออกเฉียงเหนือนี้ ได้มีการกำาหนดผังนโยบายในด้านอุตสาหกรรม

            โปแทชที่จังหวัดอุดรธานี แต่มิได้มีการกำาหนดขอบเขตพื้นที่และในด้านผังนโยบายพลังงานได้มีการเสนอ

            ให้มีการส่งเสริมการลงทุนพัฒนาธุรกิจพลังงานในภูมิภาค แต่ทั้งกรณีการพัฒนาเหมืองแร่และพื้นที่ลงทุน
            ธุรกิจพลังงานนั้น มิได้ถูกกำาหนดพื้นที่ไว้ในผังนโยบาย ในขณะที่ผังนโยบายการใช้ที่ดินและผังนโยบายด้าน

            การเกษตรกรรม พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเลย อุดรธานี บุรีรัมย์ และกาฬสินธุ์ ได้รับการกำาหนดเป็นพื้นที่

            ชนบทเกษตรกรรมและพื้นที่อนุรักษ์ป่าไม้ ซึ่งจะเห็นว่าในผังนโยบายการใช้ที่ดินและการพัฒนาการเกษตร

            มีความขัดแย้งในการใช้ที่ดินกับผังนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่และผังนโยบายการพัฒนา
            พลังงาน จึงควรที่จะมีการประเมินผลกระทบระดับยุทธศาสตร์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม (SEA - Strategic

            Environmental Assessment) เพื่อให้เกิดทางเลือกการใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อการพัฒนาที่เหมาะสม

            ที่เป็นการร่วมกำาหนดและลดความขัดแย้งในระดับโครงการ

                    การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ เป็นเครื่องมือและกลไกที่ใช้เชื่อมประสานการทำางาน

            ของหลายฝ่ายเข้าด้วยกัน เริ่มจากการกำาหนดทิศทางการพัฒนาให้เกิดดุลยภาพทั้งเศรษฐกิจ สังคมและ
            สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน บนฐานกระบวนการที่ผู้มีส่วนได้เสียได้เข้ามาร่วมตัดสินใจเลือกการพัฒนานั้นๆ โดย

            มีพื้นฐานของการบริหารจัดการที่ดี มีความรับผิดชอบร่วมกัน การพิจารณาฐานศักยภาพ เงื่อนไข บริบท





                                                          194
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200