Page 194 - รายงานศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยผังเมืองกับการคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน
P. 194

ผังเมืองกับก�รคุ้มครองสิทธิชุมชน
                                                                                         และสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน



             4.10 การปรับปรุงกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง


                    ปัจจุบัน การประกาศใช้บังคับผังเมืองมีความล่าช้า อันเนื่องมาจากสาเหตุหลายประการ ทั้งที่เป็น

             ความล่าช้าในการดำาเนินการ การกำาหนดการใช้ประโยชน์ที่ทำาให้เกิดความขัดแย้ง การขาดการศึกษา
             อย่างรอบด้าน การขาดกระบวนการมีส่วนร่วมที่ครบถ้วนทั่วถึง และความล่าช้าในการพิจารณาและ

             การใช้ประโยชน์ในบางประเด็นยังมิได้นำามาพิจารณาในการจัดทำาข้อกำาหนดการใช้พื้นที่


                    การปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีผังเมืองที่ไม่เกิด “ช่องว่าง” ในการควบคุม
             การใช้ประโยชน์ที่ดินและการพัฒนาไม่ให้กระทบกับชุมชนและส่งเสริมต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน

             และชุมชน ได้แก่


                (1) การปรับปรุงพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ในประเด็นที่สำาคัญ ดังนี้


                    -  การปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการผังเมือง คณะที่ปรึกษาผังเมืองระดับจังหวัด ให้มีสัดส่วน
                      ของภาคประชาสังคมและชุมชนเพิ่มขึ้น แทนการเน้นการเพิ่มสัดส่วนเฉพาะภาคเอกชน นักพัฒนา

                      และองค์กรวิชาชีพ โดยต้องให้มีสัดส่วนของคณะกรรมการที่เหมาะสมกับการพิจารณา

                      ในด้านต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของการผังเมือง

                     -  การกระจายอำานาจการวางผังและโครงสร้างกรรมการผังเมืองระดับท้องถิ่นให้มีอำานาจตัดสินใจ

                      โดยมีการสนับสนุนและประสานความร่วมมือทางเทคนิควิชาการจากส่วนกลาง

                    -  การปรับปรุงระยะเวลาการใช้บังคับ เพื่อมิให้เกิดช่องว่างโดยให้มีการกำาหนดช่วงเวลาที่ต้องมี

                      การประเมินผล ทบทวนอย่างมีส่วนร่วม


                    -  การตัดสินใจของคณะกรรมการผังเมือง มีผลต่อสิทธิในการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพย์สินทั้ง
                      ส่วนบุคคลและสาธารณะ ดังนั้น นอกจากการปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการผังเมืองที่มาจาก

                      กระบวนการสรรหาทุกภาคส่วนแล้ว ควรมีการแสดงความรับผิดชอบในการตัดสินใจนโยบาย

                      สาธารณะ โดยแสดงการลงมติและมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในการให้ความเห็นชอบ หรือ
                      ไม่เห็นชอบในการลงมติ เพื่อเป็นการส่งเสริมกระบวนการตัดสินใจสาธารณะที่เป็นธรรมาภิบาล

                      มีเหตุผล หลักการ มีความเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และความพร้อมรับผิดชอบ

                    -  การมีผังระดับประเทศและผังภาค เป็นการทำางานที่สำาคัญที่จะบูรณาการการพัฒนาด้านต่างๆ มาสู่

                      การดำาเนินการ การมีส่วนร่วม ประสานให้เกิดการปฏิบัติร่วมมือสู่ผลการพัฒนาเพื่อส่วนรวมที่ดี

                      และยั่งยืน แต่ผังนโยบายควรจะมีความยืดหยุ่น พร้อมต่อการมีส่วนร่วมปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้
                      เหมาะสมร่วมกัน และไม่มีความจำาเป็นต้องบังคับใช้เป็นกฎหมาย


                    -  ให้มีการริเริ่มการพัฒนาการศึกษา สร้างกลไกการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ด้วย

                      กระบวนการมีส่วนร่วมมาใช้เพื่อให้การวางผังทุกระดับนำาไปสู่ผลที่ดีและยั่งยืน





                                                           193
   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199