Page 239 - รายงานผลการศึกษาวิจัย ฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการปรับปรุงแก้ไขนโยบายกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านที่ดินและป่า
P. 239
ั
พบปญหาที่ทําให้เกิดการละเมิดสิทธิ
1. ข้อเท็จจริง
การแสวงหาข้อเท็จจริงและขั้นตอนการออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงตามกฎกระทรวง
11
ฉบับที่ 26 ออกตามความพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 (2516)
1. ทบวงการเมืองผู้มีอํานาจหน้าที่ดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ ประสงค์จะให้มีหนังสือ
สําคัญสําหรับที่หลวงสําหรับที่ดินแปลงใด
2. นายอําเภอดําเนินการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามคําสั่งกระทรวงมหาดไทย
ที่ 948 /2516 หรือทบวงการเมืองอื่นตามอํานาจหน้าที่ดูแลรักษา แสดงความประสงค์โดยการยื่นคําขอ
ออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงเป็นหนังสือพร้อมหลักฐานของที่ดินแปลงนั้น ต่ออธิบดีกรมที่ดินหรือ
ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งปฏิบัติราชการแทนตามคําสั่งของอธิบดีกรมที่ดินที่ 853/2535 ในเขตจังหวัด
รับผิดชอบ
3. ดําเนินการสอบสวนและรังวัดทําแผนที่ตามวิธีการรังวัด เพื่อออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
4. ประกาศการออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวงให้ประชาชนทราบ เป็นเวลา 30 วัน
เนื้อหาในประกาศให้มี 1. แผนที่แสดงแนวเขตที่ดิน และ 2. กําหนดระยะเวลาที่ผู้มีส่วนได้เสียจะคัดค้าน
ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวันนับแต่วันประกาศ ให้ปิดประกาศในที่เปิดเผย
1. ณ สํานักงานที่ดินจังหวัดหรือสํานักงานที่ดินสาขาหนึ่งฉบับ
2. ณ ที่ว่าการอําเภอหรือกิ่งอําเภอท้องที่หนึ่งฉบับ
3. ที่ทําการตําบลหนึ่งฉบับ
4. บริเวณที่ดินหนึ่งฉบับ
5. กรณีในเขตเทศบาล ให้ปิดไว้ ณ สํานักงานเทศบาลหนึ่งฉบับ
5. กรณีไม่มีผู้คัดค้านให้ดําเนินการออกหนังสือสําคัญสําหรับที่หลวง
กรณีมีผู้คัดค้าน ให้ดําเนินการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 45 และให้รอการออกหนังสือสําคัญ
สําหรับที่หลวง จนกว่าศาลจะมีคําพิพากษาถึงที่สุดแสดงว่าผู้คัดค้านไม่มีสิทธิในที่ดินนั้น
การแสวงหาข้อเท็จจริงตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการสอบสวนเกี่ยวกับการบุกรุกที่
12
หรือทางสาธารณประโยชน์ พ.ศ. 2539 ข้อเท็จจริงเบื้องต้นต้องปรากฏทราบถึงประวัติความเป็นมา
สภาพของที่ดิน อาณาเขตพื้นที่และการใช้ประโยชน์ของที่ดินแปลงนั้น ๆ โดยชัดเจน เช่น
1. ที่ดินที่ทางราชการสงวนหวงห้ามไว้นั้น ได้สงวนหวงห้ามไว้ ตั้งแต่เมื่อใด ผู้ใดประกาศหวงห้าม
อาศัยอํานาจตามกฎหมายใด มีหลักฐานอย่างใดบ้าง ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันมาอย่างใด
ั
ตั้งแต่เมื่อใด ในปจจุบันยังใช้ประโยชน์ร่วมกันอยู่หรือเลิกใช้แล้ว ตั้งแต่เมื่อใด เพราะเหตุใด
2. ทางนํ้า หนอง บึง นั้น ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันมาอย่างใด มีบริเวณตื้นเขินหรือไม่
เพียงใด การตื้นเขินนั้นเป็นไปในลักษณะใด กล่าวคือ มีบุคคลทําให้เกิดขึ้นหรือเป็นไปโดยธรรมชาติ
11
กฎกระทรวงฉบับที่ 26 ออกตามความพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 (2516)
12
เทียบเคียงระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการสอบสวนเกี่ยวกับการบุกรุกที่หรือทางสาธารณประโยชน์
พ.ศ. 2539
6‐30