Page 41 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 41

“หลักการพื้นฐาน”  ไปกล่าวอ้างเป็นหลักปฏิบัติในประเทศ  (ดู  BASIC
            PRINCIPLES FOR THE TREATMENT OF PRISONERS และ BASIC
            PRINCIPLES ON THE USE OF FORCE AND FIREARMS BY LAW
            ENFORCEMENT OFFICIALS)



                   BENTHAM, JEREMY                  เจอร์มี เบ็นธั่ม

                  นักปรัชญาและนักปฏิรูปกฎหมายชาวอังกฤษ  มีชีวิตอยู่ระหว่าง
            ค.ศ. 1748 - 1832 (พ.ศ. 2291 - 2375) เป็นผู้เสนอแนวคิดเรื่องอรรถประโยชน์
            นิยม (Utilitarianism) ซึ่งเป็นที่มาของแนวคิดเกี่ยวกับการกำาหนดเจตจำานง
            โดยเสรีของปัจเจกชน และเสรีนิยมในเวลาต่อมา
                  เบ็นธั่มเห็นว่า สังคมจะได้รับประโยชน์สุขสูงสุด ถ้าให้ปัจเจกชนมีเสรีภาพ
            ที่จะทำาตามความต้องการของแต่ละคน โดยกฎหมายจะต้องไม่จำากัดอิสรภาพ
            ในการคิด  หรือการกระทำาของบุคคลโดยปราศจากเหตุผล  เบ็นธั่ม  เชื่อว่า
            ในการตัดสินใจทำาการใด  ๆ  มนุษย์ใช้เหตุผลเพื่อแสวงหาความพึงพอใจ
            และพยายามหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดไม่ว่าจะเป็นความเจ็บปวดทางกาย
            หรือทางจิตใจ (หรือจริยธรรม) สองสิ่งนี้จึงเป็นสิ่งขับเคลื่อนสังคม ดังนั้น
            การเลือกกระทำาการใด มนุษย์จะประเมินด้วยผลที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
            นั่นคือ  การเพิ่มขึ้นหรือลดลงของประโยชน์หรือความสุข  เขาเรียก
            หลักจริยธรรมนี้ว่า “หลักแห่งอรรถประโยชน์ (Principle of Utility)” และถ้ามี
            ความขัดแย้งของหลักจริยธรรมระหว่างปัจเจกชนและสังคมต้องยึด
            หลักจริยธรรมของสังคมก่อน  ดังนั้นกฎหมายของสังคมที่มีขึ้นก็เพื่อสนอง
            “ประโยชน์สุขสูงสุด” ของประชาชน “จำานวนมากที่สุด”

                  แนวความคิดนี้มีอิทธิพลต่อกฎหมาย การเมือง และระบบเศรษฐกิจ
            ในสังคมประชาธิปไตยอย่างมาก












         30
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46