Page 40 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 40

BASIC PRINCIPLES              หลักการพื้นฐาน

                  ค่านิยมพื้นฐานที่เป็นแนวทางการปฏิบัติร่วมกันในสังคม หรือในสาขา
            วิชาชีพ ที่รวบรวมหรือจัดทำาขึ้นโดยคณะบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือที่ได้รับ
            การยอมรับนับถือในสาขาวิชาชีพนั้น และได้ประกาศใช้ หรือได้รับการรับรอง
            ว่าเป็นแนวทางที่มีคุณค่าในการนำามาปรับใช้ในการปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์
            ของการดำาเนินงานกฎเกณฑ์เหล่านี้ไม่มีสภาพเป็นกฎหมาย  แต่เป็นเกณฑ์
            คุณค่า หรือเป็นแนวปฏิบัติที่ใช้ประกอบเกณฑ์ทางกฎหมาย ดังนั้นจึงมีสภาพ
            เป็น “กฎหมายที่ควรมีขึ้น” (ดู SOFT LAW / LEX FERENDA)
                  ในกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศมีเอกสารจำานวนมาก
            ที่ใช้ชื่อว่า “หลักการพื้นฐาน” ซึ่งจัดทำาขึ้นโดยการประชุมระดมความคิดเห็น
            ของผู้เชี่ยวชาญที่เป็นที่ยอมรับทั่วไปในสาขาสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง
            เพื่อนำาหลักการที่เป็นที่ยอมรับกันเป็นอย่างดีในทางวิชาการเป็นเบื้องต้นมา
            รวมไว้เป็นเอกสารที่มีลักษณะเป็นถ้อยแถลงและมักจะเสนอต่อที่ประชุม
            ระหว่างประเทศ เพื่อให้รับรองหลักการพื้นฐานนั้น หรือเสนอต่อสมัชชญาใหญ่
            สหประชาชาติ คณะมนตรีสิทธิมนุษชน หรือคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม
            เพื่อให้รัฐต่าง ๆ รับรองเป็นแนวทางที่ทางการของรัฐเพื่อใช้ในการปฏิบัติ

                  “หลักการพื้นฐาน” มีความสำาคัญในกฎหมายสิทธิมนุษยชน เนื่องจาก
            หลักการฯ  ช่วยสร้างความชัดเจนทั้งในด้านคุณค่า  แนวคิด  เนื้อหาสาระ
            ของสิทธิรวมถึงแนวปฏิบัติเพื่อนำาไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลในการส่งเสริม
            ปกป้องคุ้มครอง และทำาให้สิทธิมนุษยชนได้เกิดขึ้นอย่างเต็มเปี่ยม

                  พิจารณาในด้านการเมืองระหว่างประเทศ  แม้ว่ารัฐมีพันธะหน้าที่
            ในการส่งเสริม  และปกป้องสิทธิมนุษยชน  อย่างไรก็ตามการบังคับให้รัฐ
            ปฏิบัติตามพันธะหน้าที่อย่างเคร่งครัดในทันทีจะกลายเป็นอุปสรรค ทั้งนี้แม้ว่า
            รัฐทั้งหลายจะตกลงใจเข้ามาเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศแล้วก็ตาม
            แต่ก็ย่อมยังคงเห็นความสำาคัญกับอำานาจอธิปไตยของตนอยู่เป็นหลัก
            แนวทางการพัฒนากฎเกณฑ์  และมาตรฐานร่วมกันอย่างค่อยเป็นค่อยไป
            เพื่อยกระดับสิทธิมนุษยชน อาจได้รับการสนองตอบจากรัฐภาคีดีกว่าการออก
            กฎเกณฑ์เคร่งครัด ดังเช่นกฎหมายรัฐสมาชิกมีความรู้สึกสะดวกใจในการนำา


                                                                        29
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45