Page 204 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 204
ประเทศ ทั้งที่เป็นกระบวนการตามกฎบัตรฯ (ดู CHARTER BASED
MECHANISM) และกระบวนการตามสนธิสัญญา (ดู TREATY BASED
MECHANISM)
รายงานเงาจะถูกใช้ประกอบกับรายงานของรัฐบาลเพื่อพิจารณา
ความน่าเชื่อถือ และความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลด้านสถานการณ์
สิทธิมนุษยชนที่รัฐบาลเสนอ ทั้งนี้เนื่องจากในบางครั้งรายงานสถานการณ์
สิทธิมนุษยชนที่เสนอโดยรัฐบาลจะให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือให้ความสำาคัญ
กับประเด็นการรายงานที่ไม่สะท้อนปัญหาที่สำาคัญที่เกิดขึ้น หรือการให้
ความสำาคัญกับปัญหาสิทธิมนุษยชนด้านต่าง ๆ ที่ไม่สมดุลกัน
ปัจจุบัน (ณ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012)) ประเทศไทยมี
พันธะหน้าที่ที่จะต้องเสนอรายงานที่สำาคัญจำานวนแปดฉบับ โดยองค์กรภาค
ประชาชนจะถือโอกาสเสนอรายงานเงาเพื่อให้ข้อมูลประกอบกัน โดยเสนอต่อ
องค์กรระหว่างประเทศที่มีหน้าที่รับรายงานไปพิจารณา
รายงานแปดฉบับ ประกอบด้วย
1. รายงานตามกระบวนการการประเมินสถานการณ์ทั่วไปของ
สิทธิมนุษยชนตามวาระ (ดู UNIVERSAL PERIODIC REVIEW
หรือ UPR) ซึ่งเสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
และรายงานที่จะต้องเสนอต่อคณะกรรรมการประจำาสนธิสัญญา
สิทธิมนุษยชนด้านต่าง ๆ อีกเจ็ดฉบับ คือ
2. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และ
วัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and
Cultural Rights หรือ ICESCR)
3. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
(International Covenant on Civil and Political Rights หรือ
ICCPR)
4. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
(Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination
against Women หรือ CEDAW)
193