Page 202 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 202
รวดเร็ว เป็นธรรม และการไม่ให้ถ้อยคำาเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง”
การให้การเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเองอาจมีได้ตั้งแต่ในชั้นจับกุม ชั้นสอบสวน
ของเจ้าพนักงานสอบสวน และในชั้นไต่สวนพิจารณาคดีโดยศาล
ผลทางกฎหมายของหลักการนี้คือ บางประเทศได้มีกฎหมายกำาหนด
ให้พยานหลักฐานที่ได้มาโดยการบังคับให้จำาเลยให้การ เป็นพยานที่ไม่ชอบ
ด้วยกฎหมาย จะให้ศาลใช้ในการชั่งน้ำาหนักพิจารณาความผิดจำาเลยไม่ได้
การคุกคามทางเพศ /
SEXUAL HARASSMENT
การรังควานทางเพศ
การแสดงกริยาท่าทาง คำาพูด ล่วงเกินเชิงชู้สาว หรือการบังคับขู่เข็ญ
กลั่นแกล้ง กดขี่ข่มเหง จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำา ต้องยินยอมหรือจำายอม
ต่อผู้กระทำา เกิดความรู้สึกหวาดกลัว หรือได้รับความอับอาย ซึ่งการคุกคาม
ทางเพศ หรือการรังควานทางเพศนั้นอาจมีลักษณะเป็นการกระทำาต่อเพศ
ตรงข้าม หรือกระทำาต่อเพศเดียวกันก็ได้
การคุกคามทางเพศ หรือการรังควานทางเพศมิได้จำากัดแต่เฉพาะการ
กระทำาทางเพศต่อตัวผู้ถูกกระทำาโดยตรงเท่านั้น แต่รวมถึงการกระทำาให้เกิด
สภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศที่ไม่เป็นมิตร อันก่อให้เกิดความอึดอัดไม่สบายใจ
โดยมีพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องเพศ เช่น การติดภาพหญิงในสภาพโป๊อนาจารไว้
ในสถานที่ทำางาน หรือการเขียนข้อความในเรื่องเพศไว้ในที่ทำางาน การนำา
ภาพลามกอนาจารไว้ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ การพูดคุยวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับ
เรื่องเพศหรือสรีระร่างกายของลูกจ้าง
การคุกคามทางเพศ หรือการรังควานทางเพศ มักใช้กับการต่อรอง
หรือแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ ต่อผู้ที่อยู่ในสถานะด้อยกว่า เช่น ผู้ใต้บังคับบัญชา
หรือลูกจ้าง เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขหรือความพึงพอใจในเรื่องเพศ เช่น ขอให้
มีเพศสัมพันธ์ การยินยอมให้จับต้องสัมผัสร่างกายโดยเสนอผลประโยชน์
เป็นการตอบแทน เช่น การขึ้นเงินเดือน เลื่อนตำาแหน่ง หากลูกจ้างไม่ยินยอม
จะได้รับผลร้าย เช่น ถูกลงโทษทางวินัย กลั่นแกล้งโยกย้ายหน้าที่ ไม่ให้
ทำางานล่วงเวลา เป็นต้น
191