Page 191 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 191
กฎหมายได้กำาหนดให้ใช้มาตรฐานอย่าง “มีเหตุผลเชื่อได้ตามสมควร”
กับการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญาของไทยได้กำาหนดให้เจ้าพนักงานสอบสวนและศาลได้พิจารณา
ข้อเท็จจริงประกอบกับพยานหลักฐานและ “มีเหตุผลเชื่อได้ตามสมควร”
ในกรณีต่อไปนี้
• ในการจับกุมการที่เจ้าพนักงานจะใช้อำานาจจับโดยไม่มีหมายจับ
จะต้องมีเหตุพอเชื่อได้ตามสมควรว่าบุคคลนั้นได้กระทำาความผิดขึ้น
หรือจะก่อความผิดขึ้น
• การค้นตัวบุคคลจะต้องมีเหตุพอเชื่อได้ตามสมควรว่าบุคคลที่จะถูก
ค้นตัวมีทรัพย์ที่เป็นความผิด หรือทรัพย์ที่ได้จากการกระทำา
ความผิด หรือทรัพย์ที่จะใช้ก่อความผิด
• ในการค้นเคหสถานโดยไม่มีหมายค้น เจ้าพนักงานจะต้องมีเหตุ
พอเชื่อได้ตามสมควร
• การออกหมายจับและหมายค้นศาลจะต้องพิจารณาพยานหลักฐาน
ที่เสนอโดยเจ้าพนักงานสอบสวนและมีเหตุพอเชื่อได้ตามสมควรว่า
บุคคลที่ถูกขอให้จับกุมได้กระทำาความผิด
• การออกหมายขัง ที่จะไม่ให้มีการประกันตัวผู้ต้องหา ศาลจะต้อง
พิจารณาเหตุผลที่เจ้าพนักงานสอบสวนร้องขอและมีเหตุพอเชื่อได้
ตามสมควรว่าผู้ต้องหาจะหลบหนีไปข่มขู่พยาน ไปยุ่งเหยิงกับ
พยานหลักฐาน หรือเหตุอื่น (ดู RELEASE ON BAIL)
อนึ่ง มาตรฐานการพิจารณาการตัดสินวินิจฉัยสั่งการข้างต้นต่างกับ
มาตรฐานการวินิจฉัยตัดสิน หรือพิพากษาลงความเห็นว่าจำาเลยกระทำา
ความผิดอาญา การจะพิพากษาว่าจำาเลยกระทำาผิดต้องเชื่อได้โดย “ปราศจาก
ข้อสงสัย (Beyond Doubt)” ว่าจำาเลยได้กระทำาผิด
คำาที่เกี่ยวข้อง ARREST, BAIL, THE RIGHT TO RELEASE
ON BAIL
180