Page 192 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 192
PROBATION การภาคทัณฑ์ / การคุมประพฤติ
1. การภาคทัณฑ์ คือ การลงโทษสถานเบา โดยการตำาหนิหรือคาดโทษ
ซึ่งอาจใช้กับบุคคลที่กระทำาขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ วินัย หรือคำาสั่ง
ของราชการ หรือขององค์กรเอกชน เช่น ระเบียบโรงเรียน และคำาสั่ง
ของนายจ้าง เป็นต้น
2. การคุมประพฤติ ใช้ในบริบทของกระบวนการยุติธรรมทางเลือก
หมายถึง มาตรการกฎหมายที่ศาลอนุญาตให้ผู้กระทำาความผิด
ที่ไม่ร้ายแรงรอการลงโทษ หรือนักโทษเด็ดขาดที่ได้รับการพัก
การลงโทษ โดยต้องมารายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ
ตามที่ศาลกำาหนด และมีกระบวนการสอดส่องดูแลเพื่อให้ผู้
กระทำาผิดไม่ต้องถูกควบคุมตัวอยู่ในทัณฑสถาน
การคุมประพฤติแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ
1. งานสืบเสาะและพินิจ เป็นกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริง ประวัติ
ภูมิหลังทางสังคม และรายละเอียดต่าง ๆ ของจำาเลยหรือผู้ต้องขัง
ก่อนศาลพิจารณาพิพากษาคดีโดยพนักงานคุมประพฤติเป็นผู้
ดำาเนินการตามคำาสั่งศาลแล้วนำาข้อเท็จจริงมาวิเคราะห์ประเมิน
และทำารายงานพร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อศาล เพื่อใช้ประกอบ
ดุลยพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดีว่าจะใช้มาตรการใดให้เหมาะสม
ต่อจำาเลย
2. งานควบคุมและสอดส่อง เป็นกระบวนการติดตาม ควบคุมดูแล
และช่วยเหลือผู้กระทำาผิดที่ได้รับการปล่อยตัวจากทัณฑสถาน
ภายใต้เงื่อนไขการคุมประพฤติ เพื่อช่วยให้ผู้กระทำาผิดสามารถ
ปรับตัวอยู่ในชุมชนได้อย่างปกติ ตลอดจนป้องกันไม่ให้หวนกลับไป
กระทำาผิดซ้ำาอีก
ประเทศไทยนำาระบบการคุมประพฤติมาใช้ครั้งแรกกับเด็กและเยาวชน
ที่กระทำาผิด ใน พ.ศ. 2495 (ค.ศ 1952) และได้มีการบัญญัติเกี่ยวกับ
การคุมประพฤติผู้กระทำาผิดทั่วไปไว้ในประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499
(ค.ศ. 1956) แต่ไม่มีการนำามาใช้ในทางปฏิบัติจริง
181