Page 170 - ศัพท์สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 170
NO CRIME, NO PUNISHMENT ไม่มีความผิด
WITHOUT A LAW ไม่มีโทษ ถ้าไม่มีกฎหมาย
หลักกฎหมายทั่วไปของกฎหมายอาญา มาจากภาษาละตินคือ
nullum crimen sine lege (No Crime without a Law หรือ “ไม่มี
การกระทำาความผิดอาญาถ้าไม่มีกฎหมายกำาหนด”) และ nulla poena
sine lege (No Punishment without a Law หรือ “ไม่มีโทษถ้าไม่มี
กฎหมายกำาหนด”) ซึ่งพัฒนามาเป็นหลักไม่ใช้กฎหมายย้อนหลัง หรือ
Non-retroactive Law หรือ Prohibition of ex post facto Law
(ดู RETROACTIVE LAW) หมายความว่าจะลงโทษอาญาต่อบุคคลได้
ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายกำาหนดไว้เท่านั้น หลักการนี้สอดคล้องกับหลักเสรีภาพ
ของบุคคลเพราะเป็นการประกันว่าบุคคลจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
การรับโทษทางอาญาก็ต่อเมื่อตนรู้ว่าการกระทำานั้นเป็นความผิดและมีโทษ
ดังนั้นการออกกฎหมายย้อนหลังเพื่อเอาความผิดในสิ่งที่ล่วงเลยมาแล้ว
เป็นการขัดขวางต่อเจตจำานงเสรีของบุคคลในการตัดสินใจกระทำาการใด ๆ
หลัก “ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ ถ้าไม่มีกฎหมาย” เป็นหลักสากลซึ่งได้
รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญของเกือบทุกประเทศ เช่น รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (ค.ศ. 2007) มาตรา 39 บัญญัติว่า
“บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำาการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลา
ที่กระทำานั้นบัญญัติเป็นความผิด”
นอกจากนั้นหลักนี้ยังหมายถึงการยกเลิกความผิด หรือยกเลิกโทษให้กับ
บุคคลที่กระทำาผิดแล้ว แต่ต่อมาได้มีกฎหมายใหม่ยกเลิกความผิดนั้น หลักการนี้
ได้รับการรับรองไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 ของไทย ที่บัญญัติว่า
“ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำาเช่นนั้น ไม่เป็น
ความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำาการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำาความผิด และถ้าได้มี
คำาพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำาพิพากษาว่าได้
กระทำาความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง”
คำาที่เกี่ยวข้อง CRIMINAL LAW, CRIMINAL CODE, PENALTY,
RETROACTIVE LAW, EX-POST FACTO LAW
159