Page 16 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง ปัญหาและมาตรการทางกฎหมายในการรับรองและคุ้มครองสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว
P. 16
บทที่ ๑
ข้อความคิดเกี่ยวกับสิทธิความเป็นส่วนตัว
๑. แนวคิดและพัฒนาการเกี่ยวกับสิทธิความเป็นส่วนตัว
๑.๑ แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิในความเป็นส่วนตัว
สิทธิความเป็นอยู่ส่วนตัวเป็นสิทธิประการหนึ่งที่อยู่ในสิทธิมนุษยชน การศึกษา
แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวจึงจ่าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาสิทธิมนุษยชนควบคู่กันไปด้วย แนวคิด
เรื่องสิทธิมนุษยชนนั้นอาจกล่าวได้ว่ามีจุดเริ่มต้นจากค่าสอนของศาสนาคริสต์ซึ่งสอนว่ามนุษย์ทุกคน
เสมอเหมือนกันในสายตาของพระผู้เป็นเจ้า มนุษย์จึงมีความเสมอภาค มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์และ
มีสิทธิเสรีภาพเสมอภาคเท่าเทียมกัน การกระท่าใดๆ ที่ลิดรอนหรือท่าลายสิ่งเหล่านี้เป็นการกระท่าที่ผิด
ซึ่งค่าสอนของศาสนาคริสต์ดังกล่าวสอดคล้องกับแนวความคิดเรื่องกฎหมายและสิทธิตามธรรมชาติที่มี
ความเชื่อว่าเหนืออ่านาจสูงสุดของมนุษย์คือธรรมชาติและมนุษย์ถือก่าเนิดขึ้นมาพร้อมกับสิทธิในชีวิต
สิทธิในทรัพย์สิน เสรีภาพในร่างกายและความเสมอภาคกัน สิทธิและเสรีภาพเหล่านี้เป็นสิ่งที่ติดตัวมนุษย์
มาตั้งแต่เกิด ผู้ใช้อ่านาจปกครองไม่มีอ่านาจที่จะลบล้างและมิอาจจะก้าวล่วงได้ ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า
ค่าสอนของศาสนาคริสต์และหลักกฎหมายและสิทธิตามธรรมชาติ ถือเป็นพื้นฐานส่าคัญที่ก่อให้เกิด
แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนขึ้น
เมื่อค่าสอนของศาสนาคริสต์และแนวความคิดเรื่องกฎหมายธรรมชาติมีการ
เผยแพร่จากนักปราชญ์ไปสู่นักการเมืองและประชาชน ประกอบกับเกิดปัญหาที่ผู้ใช้อ่านาจปกครองใช้
อ่านาจเกินขอบเขตก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมือง จนกระทั่งต้องจัดท่าข้อตกลงระหว่างประชาชน
และผู้ใช้อ่านาจปกครองในรูปแบบของเอกสารรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งข้อตกลงที่เกี่ยวกับ
สิทธิมนุษยชนและสิทธิความเป็นส่วนตัวที่ส่าคัญมี ๓ ฉบับ ได้แก่
๑.๑.๑ The Great Charter หรือมหากฎบัตรแมกนา คาร์ตา (Magna Carta)
ของประเทศอังกฤษ
กฎบัตรดังกล่าวมีที่มาจากตอนต้นศตวรรษที่ ๑๓ พระเจ้า John
ซึ่งเป็นกษัตริย์ของประเทศอังกฤษใช้อ่านาจปกครองอย่างไม่เป็นธรรม จนในที่สุดมีการต่อต้านจาก
ผู้ใต้ปกครองและบังคับให้พระเจ้า John ประกาศใช้กฎหมายฉบับหนึ่งคือ The Great Charter เมื่อวันที่
๘
๒๑ มิถุนายน ค.ศ. ๑๒๑๕ กฎบัตรฉบับดังกล่าวถือเป็นเอกสารชิ้นแรกทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับการ
คุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยกฎบัตรดังกล่าวมีสาระส่าคัญเป็นการคุ้มครองประชาชนจากการกระท่าตาม
อ่าเภอใจของผู้ใช้อ่านาจปกครอง
๘ กุลพล พลวัน,พัฒนาการแห่งสิทธิมนุษยชน.กรุงเทพฯ :บริษัทส่านักพิมพ์วิญญูชน จ่ากัด, พ.ศ. ๒๕๓๘
หน้า ๒๕
๑