Page 81 - แด่ศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน : วรรณกรรมกับสิทธิมนุษยชนศึกษา
P. 81

80       แดศักดิ์ศรีเสมอกันทุกชั้นชน





                                                                                      สรณัฐ ไตลังคะ








                บทคัดย่อ

                       บทความเรื่องนี้ศึกษาวรรณกรรมแนวผจญภัยในป่าเขาโดยเน้นการศึกษาเรื่องสั้น งานแนวดังกล่าว

                ได้รับความนิยมมากในราวทศวรรษ 2480 จนถึงประมาณต้นทศวรรษ 2500 ซึ่งเป็นผลมาจากการสํารวจเปิด
                ป่าเพื่อหักร้างถางพงรับความเจริญสมัยใหม่และการลงทุนจากต่างชาติไม่ว่าจะในรูปของการทําถนน การตัด
                ไม้เพื่อก่อสร้าง รวมถึงเป็นผลจากความนิยมการล่าสัตว์เพื่อความบันเทิงใจอันเป็นกิจกรรมแบบใหม่ของคน

                เมือง เรื่องราวของป่ามักได้รับการนําเสนอเป็นงานประเภทผจญภัย หรือประเภทลึกลับ ที่แสดงให้เห็น
                ความสามารถของพรานป่าในการล่าสัตว์ใหญ่ที่ดุร้าย หรือเสนอเรื่องเล่าและตํานานเกี่ยวกับความลึกลับ

                มหัศจรรย์ของป่า อาทิ สัตว์ประหลาด มนุษย์ประหลาด เครื่องรางของขลังจากของป่า รวมทั้งการเป็นแหล่ง
                ทรัพยากร และแหล่งซ่องสุมของโจร ข้อน่าสังเกตคือเรื่องสั้นกลุ่มนี้หลายเรื่องเสนอภาพผู้หญิงในสองลักษณะ

                คือ ผู้หญิงบริสุทธิ์ที่เป็นวัตถุแห่งตัณหาของผู้ชายและผู้หญิงในลักษณะมีมนต์เสน่ห์ลึกลับ น่าค้นหาและ
                ครอบครอง  บทบาทของผู้หญิงในเรื่องสั้นเหล่านี้เป็นต้นเหตุแห่งโศกนาฏกรรมของเรื่อง
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86